ปัจจัยเรื่องการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เงินเฟ้อ และค่าแรงขั้นต่ำ

ในการปรับเปลี่ยนการทำงานของ SMEs เพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มต้นทุนแรงงานนั้น จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงานอย่างไรก็ตาม ระบบการทำงานนั้นจะต้องเอื้อให้คนที่มีความสามารถในระดับปานกลางสามารถทำงานได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากไม่ว่าจะในงานใดๆก็ตาม เรามักจะได้คนทำงานส่วนใหญ่ที่มีความสามารถระดับปานกลาง โดยมีคนกลุ่มประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถที่โดดเด่นเหนือเกณฑ์เฉลี่ย และอีกประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดังนั้นระบบการทำงานไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามจะต้องเอื้อให้คนในองค์กรอย่างน้อย 70–80% สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายของกิจการหรือสูงกว่าเป้าหมาย

สิ่งที่หนีไม่พ้นเลยก็คือต้นทุนของกิจการในประเทศจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน โดยสำหรับค่าแรงนั้นดูเหมือนจะมีผลกระทบกับ SMEs มากกว่าธุรกิจในกลุ่มอื่น เนื่องจากต้นทุนของ SMEs ประมาณ 30 – 50% เป็นต้นทุนแรงงาน ดังนั้นการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ จะมีผลกระทบโดยตรงกับโครงสร้างต้นทุนของ SMEs ค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อที่จะรองรับผลกระทบที่จะเกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขี้นนี้ กล่าวคือด้วยจำนวนแรงงานเท่าเดิม ผลิตภาพของแรงงาน หรือ Productivity ของแรงงานจะต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่าต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น เช่น หากต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 30% จากการปรับอัตราขั้นต่ำ

แนวคิดในการจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันมักจะเน้นเรื่องการบริหารจัดการคนที่มีความสามารถโดดเด่น หรือ Talent การบริหารจัดการคนที่มีความสามารถในเกณฑ์เฉลี่ยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่า เป็นการยากมากที่องค์กรใดจะมีแต่คนเก่ง หรือหากมีก็จะทำให้ต้นทุนแรงงานนั้นสูงลิ่ว (ซึ่งอาจจะเหมาะกับธุรกิจเฉพาะบางอย่างเท่านั้น) แต่โดยทั่วไปคนกลุ่มใหญ่ของพนักงานจะเป็นคนที่มีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้นๆ

ดังนั้นระบบการทำงานที่ดี จึงจะต้องเป็นระบบการทำงานที่เอื้อให้คนโดยส่วนใหญ่ของบริษัทสามารถทำงานบรรลุตามเป้าหมายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านผู้ประกอบการคงต้องขบคิดแล้วว่าระบบการทำงานอย่างไรจึงจะเหมาะกับกิจการของท่าน ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนั้นมีได้ตั้งแต่ การหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อช่วยให้ทำงานได้คล่องขึ้น ตลอดจนระบบการให้ผลตอบแทนให้สอดคล้องกับลักษณะงาน