Monthly Archives: April 2014

เว็บบอร์ดเป็นช่องทางในการต่อยอดธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมของไทยให้ความรู้คนในชุมชน

ในขณะที่โลกแห่งเทคโนโลยีก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศที่องค์กรจะต้องเกี่ยวข้อง รับรู้และจัดการรวบรวมก็มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญและแก้ไขมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ความรวดเร็วฉับไวของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งส่งต่อถึงอีกซีกโลกหนึ่งในชั่วพริบตา ศาสตร์และวิชาการกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถจะค้นหาและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายหากต้องการ   ความยากจึงไม่ใช่การค้นหาความรู้และข้อมูล แต่เป็นการทำความเข้าใจกับองค์ความรู้ (Knowledge) และความหมาย (Meaning) ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้มากกว่า เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์และความเข้าใจ

p184sre2at16dn10q09gtdc51rd55

ประเด็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลกให้ดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้วจากหลายระดับ เช่น จากองค์การการค้าโลก จากประเทศภาคีในกลุ่ม APEC เป็นต้น แต่โดยทั่วไปการพิจารณายังคงเน้น ตัวผลิตภัณฑ์ ที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม มากกว่า กระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต  ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือบำบัดมลพิษ มากกว่าที่จะเป็น สินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภคของประชาชนประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภค และกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาศักยภาพการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหนักไปที่การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม 3 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจบริการกำจัดขยะ และธุรกิจสถานพักแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี 6 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ภาครัฐควรแสดงบทบาท ในการช่วยเหลือและการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการพัฒนาบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 2. การสนับสนุนทางการเงิน หรือเงินลงทุนในการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจในการพัฒนาธุรกิจ ของตนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเครือข่าย ทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทย 4. การกาหนดมาตรฐานการประกอบการและมาตรฐานการผลิต ด้วยมาตรการ ใบรับรองหรือฉลากสิ่งแวดล้อม ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล ในกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของธุรกิจตน 5. การใช้กลยุทธ์ทางการจัดการธุรกิจที่เชื่อมโยงกับชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับภายในชุมชนให้มากที่สุด 6. นโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการส่งออกและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ควรมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ควรขัดแย้งกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนทั้งในตลาดอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน