รัฐกับการพัฒนาชุมชนตามแนวรัฐธรรมนูญ

รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ…..

สะท้อนให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพลเมือง โดยเฉพาะการกระจายอำนาจของรัฐส่วนกลางลงไปสู่องค์กรท้องถิ่นที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้น รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น

กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับประชาชน ผู้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในเรื่องการดำเนินการที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเขาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการร่วมคิดละร่วมตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม การนำไปสู่การเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มหรืออาจถูก เรียกว่าเป็นสำนึกของชุมชน ฉะนั้นจึงคิดว่ามีผลประโยชน์ของ “ตัวตน” ที่เหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวอันจะต้องปกป้องรักษาหรือเพิ่มพูน ซึ่งก็ให้เกิดจุดยืนทางการเมือง ทางเศรษฐกิจหรือทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นของ “ตัวตน” หรือ อัตลักษณ์นั้นถูกปรุงแต่งร่วมกันจนมีความชัดเจนละเอียดอ่อนพอจะเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะได้เสมอ

ดังนั้น จึงเกิดกระบวนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองขึ้น โดยจุดมุงหมายแรกที่ให้ชุมชนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันจากสภาพความเป็นจริงของชุมชนในปัจจุบัน ดังนั้นผลจากการระดมความคิดจึงเกิดขึ้น คือ ปัญหาและวิกฤต ของชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตนเองมองเห็นปัญหา ศักยภาพขีดจำกัดและร่วมกันกำหนดเป้าหมานของชุมชนของชุมชน ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง “สาธารณะ” มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม การจัดการ “ปัญหาและวิกฤต” จึงมิใช่เป็นเรื่องของรัฐเพียงฝ่ายเดียวที่จะแก้ไขแต่ต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของประชาชน