Category Archives: ข้อมูลธุรกิจ

ข้อดีและคุณสมบัติของเครื่องเมลาโทนิน

เมื่อเร็ว ๆ นี้เราได้เห็นผู้ป่วยมากขึ้นที่ใช้ เมลาโทนินสำหรับปัญหาการนอนหลับของพวกเขา อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ว่าเมลาโทนินอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่า นี้มาเพราะเมลาโทนิได้แสดงให้เห็นว่ามีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตัวเลขบางส่วนแสดงให้เห็นว่าประชาชนชาวอเมริกันหลายล้านคนได้รับยานอนหลับเพื่อรักษาความผิดปกติของการนอนหลับของตนเอง ในขณะที่อาการนอนไม่หลับและความผิดปกติอื่น ๆ ในการนอนหลับเป็นสิ่งที่น่าหงุดหงิดมากที่ต้องต่อสู้กับการนอนหลับไม่ควรเป็นทางเลือกหลักของคุณ มีมากมายของวิธีการอื่น ๆ สำหรับการรักษาหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้มีจะทำอย่างไรกับยานอนหลับใด ๆ

อย่างไรก็ตามถ้าคุณตัดสินใจว่าการใช้ยานอนไม่หลับ

เป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดคุณควรคำนึงถึงสิ่งอื่น ๆ ด้วย ยานอนหลับส่วนใหญ่มีเมลาโทนินซึ่งเดิมเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ควบคุมพฤติกรรมการนอนของคน นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคนที่มีปัญหาในการนอนหลับควรใช้ฮอร์โมนตัวเดียวกันเพื่อรักษาความผิดปกติและทำให้พวกเขาทำเมลาโทนินนอนเม็ดหากคุณเริ่มมีเมทานอลยานอนหลับคุณต้องทราบถึงผลข้างเคียงของเมลาโทนิน คนที่ใช้ยานอนหลับที่มีเมลาโทนิได้รายงานอาการวิงเวียนศีรษะปวดศีรษะรู้สึกเข้าใจผิดฝันร้ายเดินละเมอและความวุ่นวาย ถึงแม้สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตราย แต่คุณต้องระวังด้วยว่ารายการนี้ไม่ได้จบที่นี่

ผู้ป่วยที่ได้รับเมลาโทนิน

และพยายามทำให้ลูกน้อยบอกว่า เมลาโทนินลดอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างแน่นอน เป็นผลให้เมลาโทนิได้แม้กระทั่งเริ่มที่จะใช้เป็นตัวคุมกำเนิดสำหรับคนที่ไม่ต้องการที่จะตั้งครรภ์ นอกจากผลข้างเคียงนี้ผู้ที่ใช้ เมลาโทนินยังรายงานว่ารู้สึกหงุดหงิดและหงุดหงิดกับสิ่งต่างๆและคนรอบตัวในเวลาที่พวกเขาเอาเมลาโทนิน นี่เป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงของเมลาโทนิที่ทำให้คนรู้สึกผิดหวังแม้โดยสิ่งที่น้อยที่สุด เมลาโทนินไม่สามารถผสมกับยาจำนวนมากซึ่งรวมถึงยาลดความอ้วนเลือดยาลดภูมิคุ้มกันยาคุมกำเนิดและยาโรคเบาหวาน อาจเป็นอันตรายที่จะรวมเมลาโทนิกับยาเหล่านี้เนื่องจากอาจมีปฏิกิริยาและนำไปสู่สภาวะที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยโดยใช้เมลาโทนิน

การให้ยาเกินขนาดเมลาโทนิเป็นเรื่องที่อันตรายมากและผู้ป่วยควรระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับขนาดยาทุกครั้ง การวิจัยอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ยาเกินขนาดเมลาโทนินอกเหนือจากการเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้วยังไม่มีผลต่อผู้ที่ต่อสู้เพื่อนอนไม่หลับ อย่างสม่ำเสมอเมลาโทนิน 0.3 มิลลิกรัมได้รับการพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จมากและมากกว่าที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้เท่านั้น เพื่อสรุปสิ่งที่ได้รับการกล่าวว่าเมลาโทนิเป็นยานอนหลับและทำหน้าที่วัตถุประสงค์ของมันได้ดีพอ! กระนั้นก็ยังมีจำนวนผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายที่ทำให้มันเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนที่ใช้มัน ดังนั้นการปรึกษากับแพทย์ก่อนจะดีกว่าเสมอถ้าคุณกำลังดิ้นรนกับปัญหาการนอนหลับ ดูรายละเอียดสินค้า http://www.docmeeshop.com/

 

รัฐกับการพัฒนาชุมชนตามแนวรัฐธรรมนูญ

รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ…..

สะท้อนให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพลเมือง โดยเฉพาะการกระจายอำนาจของรัฐส่วนกลางลงไปสู่องค์กรท้องถิ่นที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้น รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น

กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับประชาชน ผู้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในเรื่องการดำเนินการที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเขาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการร่วมคิดละร่วมตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม การนำไปสู่การเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มหรืออาจถูก เรียกว่าเป็นสำนึกของชุมชน ฉะนั้นจึงคิดว่ามีผลประโยชน์ของ “ตัวตน” ที่เหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวอันจะต้องปกป้องรักษาหรือเพิ่มพูน ซึ่งก็ให้เกิดจุดยืนทางการเมือง ทางเศรษฐกิจหรือทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นของ “ตัวตน” หรือ อัตลักษณ์นั้นถูกปรุงแต่งร่วมกันจนมีความชัดเจนละเอียดอ่อนพอจะเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะได้เสมอ

ดังนั้น จึงเกิดกระบวนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองขึ้น โดยจุดมุงหมายแรกที่ให้ชุมชนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันจากสภาพความเป็นจริงของชุมชนในปัจจุบัน ดังนั้นผลจากการระดมความคิดจึงเกิดขึ้น คือ ปัญหาและวิกฤต ของชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตนเองมองเห็นปัญหา ศักยภาพขีดจำกัดและร่วมกันกำหนดเป้าหมานของชุมชนของชุมชน ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง “สาธารณะ” มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม การจัดการ “ปัญหาและวิกฤต” จึงมิใช่เป็นเรื่องของรัฐเพียงฝ่ายเดียวที่จะแก้ไขแต่ต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของประชาชน

การส่งเสริมอาชีพประมงในชุมชน

di5h7hgbckaa6jf7ic8jbวัฒนธรรมการบริโภคปลาเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนในลุ่มแม่น้ำที่บ่งบอกถึงวิถีการดำรงชีวิตภายใต้การปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การที่คนในลุ่มแม่น้ำอาศัยปลาเป็นอาหารเพื่อการยังชีพในสำรับเกือบทุกมื้อ ร่วมกับอาหารและผักชนิดต่างๆที่ได้จากท้องถิ่นในยุคเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปลาต่อวิถีชีวิต นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการบูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนได้อย่างลงตัว รูปแบบและวิธีการประกอบอาหารที่ทำขึ้น เช่น การประกอบอาหารโดยการทำให้สุกโดยการใช้ความร้อน อาหารหมัก และการบริโภคอาหารที่ทำจากปลาโดยวิธีการกินดิบ ยังสามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในมิติทางสังคมของคนในชุมชน เพราะกระบวนการประกอบอาหารแต่ละชนิด รวมถึงโอกาสในการบริโภคนั้นสะท้อนการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของคนในลุ่มแม่น้ำได้เป็นอย่างดี

การทำประมงชายฝั่งของประเทศไทยได้มีการพัฒนามายาวนาน ชาวประมงได้ทำการประมงหลากหลายชนิด และใช้เครื่องมือประมงหลายประเภททำการประมง เช่น แห อวน โพงพาง อวนรุน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือประเภทต่างๆได้พัฒนาให้สามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันพบว่าสัตว์น้ำเกือบทุกชนิดที่จับได้นั้นเป็นการจับเกินกำลังการผลิตของธรรมชาติที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการทดแทนได้ทัน มีการทำประมงมากเกินควร การจับสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัยมาใช้ประโยชน์ การจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงเพื่อให้จับสัตว์น้ำให้ได้ปริมาณขึ้น มีผลโดยตรงต่อการทำลายพันธ์สัตว์น้ำวัยอ่อน การลดปริมาณสัตว์น้ำ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการรบกวนและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ขยายพันธ์ และอนุบาลสัตว์น้ำส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำ เกิดปัญหาความขัดแย้งของชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประเภทต่างกัน

การที่ชุมชนสามารถยืดหยัดดำรงอยู่และพัฒนาไปได้ท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกรากของโลกาภิวัฒน์ที่โหมกระหน่ำเข้ามาอย่างรวดเร็วและรุนแรงต่อเนื่อง จนสามารถข้ามพ้นเขตปัญหาต่างๆเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เอาใจใส่ ขณะเดียวกันก็ได้เกิดข้อที่น่าวิตกกังวลในเรื่องความยั่งยืนของความเป็นชุมชนว่าจะพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ข้ามพ้นยุคสมัยแห่งกาลเวลาได้หรือไม่อย่างไร หากไร้ผู้สืบทอด เนื่องจากสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้ดึงดูดคนเข้าสู่กระแสหลักของการพัฒนาที่เน้นเงินเป็นหลัก ระบบการศึกษาก็สร้างคนเพื่อเข้าสู่ระบบทุนนิยม โดยห่างหายจากชุมชนออกไปทุกที คนรุ่นใหม่ของชุมชนจึงอยู่กับความเป็นชุมชนดั้งเดิมไม่ได้ ข้อวิตกกังวลต่อความยั่งยืนของความเป็นชุมชนจึงกลายเป็นปัญหาที่ท้าทายอย่างมาก

การกำจัดขยะมูลฝอยซึ่งเป็นปัญหาในชุมชน

imageปัญหาขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอยนั้นเอง การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย เริ่มต้นด้วยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่นๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

ปัจจุบันขยะล้นเมืองเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ใครก็ต่างเจอ และต้นเหตุของปัญหานั้นก็คือมนุษย์ คือพวกเราทุกคน หากทุกคนทุกบ้านทุกชุมชนและทั้งประเทศไทยร่วมมือกันแล้ว เราก็สามารถเปลี่ยนเมืองขยะล้น เป็นเมืองไร้ถัง หรือเมืองปลอดขยะได้โดยไม่ยากเย็นอะไร นอกเหนือจากความมีวินัยและจิตสำนึกในการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนแล้ว ถึงแม้ชุมชนและทุกครัวเรือนจะร่วมกันจัดการขยะเป็นอย่างดีเพียงไร แต่หากขาดระบบการบริหารจัดการรองรับที่ดีของรัฐก็จะไม่มีทางเกิดการจัดการขยะแบบบูรณาการได้เลย อีกทั้งการดำเนินการของชุมชนก็จะไม่สามารถขยายผลไปในระดับประเทศได้ ถึงเวลาแล้วที่รัฐจะต้องหันมาแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน และไม่ปล่อยให้วิกฤตขยะเป็นปัญหาที่ชุมชนต้องแก้ไขด้วยตนเองก่อนที่จะสายเกินเยียวยา

รูปแบบศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการขยะมูลฝอยที่จะแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเป็นการมุ่งเน้นให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วมกัน ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และเพื่อเป็นการลดภาระของรัฐบาลด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ อีกทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมลงทุนและดำเนินการ โดยรูปแบบการลงทุนและดำเนินการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอาจทำได้หลายวิธี อาทิ เอกชนเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการเองทั้งหมด รัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน รัฐลงทุนการก่อสร้างระบบและให้เอกชนดำเนินการ เป็นต้น

การให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชน

โลกาวิวัฒน์ สร้างระบบทุนนิยมโดยใช้กลไกลตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเน้นเศรษฐกิจเป็นตัววัดปัจจัยของการเจริญเติบโต และการแสดงว่าประเทศพัฒนาจะใช้รายได้ประชาชาติต่อหัวเป็นตัวตัดสิน ดังนั้นจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการแข่งขัน การชิงไหวชิงพริบ การแกร่งแย่ง เพื่อให้นำมาซึ่งความร่ำรวยของประเทศตน สิ่งที่เป็นผลพวงตามมาก็คือทรัพยากรของโลกถูกทำลายโดยน้ำมือมนุษย์ เพื่อที่ จะสนองความต้องการ ความยิ่งใหญ่ จนเกิดภาวะเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและสภาพจิตใจ และเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น การเกิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การเกิดภัยธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์บุกรุกทำลายป่าปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม และตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บอีกมากมาย แม้แต่ประเทศไทยเอง ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การแต่งกาย ความเป็นอยู่ บนพื้นฐานของความฟุ่มเฟือยหรูหรา นิยมวัตถุจนเกิดเป็นวัฒนธรรมบริโภคนิยม วัตถุนิยมส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม จนสภาพสังคมไทยตกอยู่ในสภาพเลวร้าย วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้แทบจะไม่หลงเหลือให้ชื่นชม คนไทยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว สังคมที่มีมิตรไมตรีความเอื้ออาทรต่อกันเหลือน้อยเต็มทน เพราะต้องแข่งขัน แกร่งแย่งเพื่อความอยู่รอด รัฐบาลเองก็บริหารประเทศโดยใช้ระบบทุนนิยม มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศใช้เงินมากมายในการที่จะต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นการก่อหนี้จำนวนมหาศาล ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย เพราะต้องนำไปในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคเกษตรที่ถือเป็นหัวใจและสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่บรรพกาลน้อยมาก ประเทศจึงมีสภาพเศรษฐกิจที่คลอนแคลนไม่มั่นคง ไม่สามารถยืนบนขาตัวเองได้ เพราะต้องพึ่งพาต่างประเทศ ถ้าคนไทยยังคงอยู่ในสภาพนี้ต่อไปก็คงจะถึงเวลาที่ประเทศจะต้องประสบภัยความ ล่มสลาย ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้เล็งเห็นถึงสิ่งเหล่านี้ จึงได้สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา คือ เศรษฐกิจพอเพียงโดยทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นและยื่นหยัดภายใต้กระแสโลกาวิวัฒน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน หรือ รัฐ ในการปฏิบัติงานหรือบริหารพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากภายนอกและภายในอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีความสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความรอบรู้ที่เหมาะสม การดำเนินชีวิตควรใช้ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การดำรงชีวิตและปฏิบัติตนมุ่งเน้นการอยู่รอดปลอดภัย และวิกฤต สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

CBT การท่องเที่ยวโดยชุมชน

CBT การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism)คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม เนื่องจากทรัพยากรการท่องเที่ยว กับทรัพยากรที่ชุมชนใช้เป็นฐานการผลิตเป็นทรัพยากรเดียวกัน วัฒนธรรมธรรมและสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องจิตวิญญาณของชุมชน ในการสร้างสัมพันธ์กันภายในชุมชนและการสัมพันธ์กับภายนอก ควรจะเชื่อมโยงให้เห็นการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม
ความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น
Ecotourism (อีโคทัวร์ริซึ่ม) ภาษาราชการเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” แต่หลายชุมชนหรือหลายองค์กร เรียก “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ซึ่งความแตกต่างของอีโคทัวร์ริซึ่ม กับ CBT คือ CBT เน้นที่ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงานแต่อีโคทัวร์ริซึ่มธรรมชาติเป็นศูนย์กลางชุมชนเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง
Homestay (โฮมสเตย์) ภาษาราชการเรียกว่า “ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท” มีความแตกต่างจาก CBT คือเน้นบ้านเป็นศูนย์กลาง แต่ CBT ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการบริหารจัดการที่ชัดเจนในรูปองค์กรชุมชน จะพักค้างคืนในชุมชนในรูปแบบที่ชุมชนจัดการ อาทิ โฮมสเตย์ รีสอร์ทชุมชน ตั้งแคมป์ หรือไม่ค้างคืนก็ได้
หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนมีหลักการดังนี้
1. ชุมชนเป็นเจ้าของ
2. ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ
3. ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง
4. ยกระดับคุณภาพชีวิต
5. มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
6. คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น
7. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม
8. เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
9. เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น
10. มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
หลักการดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องรณรงค์กับคนในสังคมให้เห็นความแตกต่างของการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวทั่วไป กระตุ้นให้คนในสังคมเห็นความสำคัญและเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นกำลังใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานอนุรักษ์ทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม

การปรับตัวของสินค้า OTOP เพื่อการรับมือกับการเปิด AEC

การปรับตัวของสินค้า OTOP เพื่อการรับมือกับการเปิด AEC
การรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้นมีผลกระทบต่อการปรับตัวของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจำนวนมาก โดยที่ปัญหาของ (OTOP) โดยรวมของ ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้น เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการเงิน และแหล่งเงินทุน ด้านเทคโนโลยีและด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ

ในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ (OTOP) สู่การรวมตัวของ (AEC) ตามกรอบ ASEAN SMEs นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีความจริงใจในการร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เพื่อช่วยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยควรเริ่มพัฒนาจากการสร้างแรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ประกอบการเอง รวมทั้งเน้นด้านการสร้างเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ในด้านการบริหารจัดการต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงทักษะด้านภาษารวมทั้งให้ความรู้ด้านต่างๆ ของอาเซียน ส่วนด้านการตลาด ควรสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างคุณค่าให้กับ ผู้บริโภค พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน พร้อมทั้งหากลุ่มตลาดเป้าหมาย และช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในต้นทุนที่ต่ำ ที่สุด สำหรับด้านการผลิตควรให้มีการนำ เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตหาแหล่งวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ ด้านการเงิน และแหล่งเงินทุน ควรมีการใช้ระบบการเงินและบัญชีที่ถูกต้อง มีความรู้เรื่องต้นทุนและจุดคุ้มทุน สนับสนุนเรื่องแหล่งทุนต้นทุนต่ำ ด้านเทคโนโลยีควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการทำงาน รวมถึงระบบสารสนเทศ และด้านการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ผู้ประกอบการควรหาพันธมิตรธุรกิจทั้งในด้าน การผลิตและการจัดจำ หน่ายและสำหรับภาครัฐควรให้การสนับสนุนในเรื่องข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับ (AEC) อบรมให้ความรู้ และประสานแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สนับสนุนให้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็น ตลาดเฉพาะหรือ Niche Market และต้องสร้างนวัตกรรม สินค้าอย่างต่อเนื่อง พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐาน ด้านการผลิต ควรมีการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกระบวนการผลิต จะส่งผลให้ผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าและพัฒนาสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า

การฟื้นฟูระบบและพัฒนาคุณค่าเดิมของทุนทางสังคมในชุมชน

15

สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันมายาวนาน  มีสวัสดิการแบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง  แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่าง ๆที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์  องค์กรการเงิน  วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ในปี 2548 ขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับกองทุนสวัสดิการโดยการริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบล โดยให้มีการสมทบงบประมาณจากสามฝ่ายคือ ทุนจากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน ทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม  หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐบาลกลางและการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองทั่วประเทศ 5,500 กองทุน สมาชิกรวม 3.41 ล้านคน

สวัสดิการชุมชนคือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในท้องถิ่น ที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต  ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 ในช่วงแรกเป็นการให้การสนับสนุนเพื่อการจัดตั้ง พัฒนาและสมทบเงินบางส่วน ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยสมทบเงินเข้ากองทุนตามจำนวนสมาชิกที่มีอายุครบ 1 ขึ้นไปในอัตราวันละ 1 บาทต่อคนหรือปีละ 365 บาท  และได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๙ มิถุนายน 2553 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) พิจารณาสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ตามฐานะการคลังของแต่ละ อปท.

ประโยชน์ของการจัดตั้งสหกรณ์ในชุมชน

สหกรณ์ภายในชุมชน หมายถึง การรวมตัวของคนในชุมชน จัดตั้งเป็นสมาคมด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินกิจการร่วมกันอย่างเป็นอิสระ โดยควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย โดยมุ่งแสวงหากำไรและแบ่งปันกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของคนในสังคม ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักของสหกรณ์ ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถแก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จากการดำเนินกิจการเองตามลำพัง ประโยชน์ที่ได้รับมีดังต่อไปนี้

1.ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้ และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง

2.เกิดความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ

3.ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

4.ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น

5.ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์

6.เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก

7.เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของสหกรณ์ภายในชุมชนมีประโยชน์มากมาย เป็นองค์กรที่ต้องอาศัยการร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนในชุมชนทุกฝ่าย

การพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน

ธุรกิจในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาชุมชน แต่เนื่องจากผู้ประกอบการในชุมชนยังขาดความเข็มแข็งในการพึ่งตนเองในด้านการดำเนินธุรกิจ และขาดการเรียนรู้ร่วมกันที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบกิจการด้วยคนในชุมชนทั้งในด้านการผลิตสินค้า การให้บริการและการเรียนรู้ การพึ่งตนเองของครอบครัว ทำให้บางกลุ่มไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้ และหยุดโครงการไป

การที่จะสร้างรายได้ในชุมชนนั้นจำเป็นต้องมีการรวมตัวเพื่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นวิถีชีวิตของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ก็คือการนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จะพบว่าในปัจจุบันธุรกิจภายในชุมชนส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดย่อมซึ่งเป็นกิจการที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ มีกระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับวิถีของคนในชุมชนและความต้องการของตลาดภายนอก ทำให้ธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นได้

ในการพัฒนาต้องแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว ให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิต โดยการสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ในการผลิต จัดทำเอกสารข้อมูลเผยข้อมูลแพร่ด้านแหล่งทุนการพัฒนาการผลิตเผยแพร่สนับสนุนแก่กลุ่มอาชีพผู้ประกอบการและสนับสนุนข่าวสารการผลิตเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการพัฒนาการผลิต หรือจะโครงการหาเงินทุนขึ้น

การสร้างธุรกิจในชุมชนช่วยให้ชุมชนกับเศรษฐกิจพอเพียงเกิดการเชื่อมโยงกันทั้งในด้านจิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ประสานสัมพันธ์กัน รวมทั้งชุมชนต้องสร้างความเข้มแข็งด้วยการเข้าใจถึงลักษณะของคำว่า ธุรกิจชุมชน ให้ได้ เพราะทำให้เกิดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้ และเมื่อประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขยายตลาดออกไปได้กว้างมากขึ้น และมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับชุมชนอื่นในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนสินค้า โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนโครงการ รวมทั้งสามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มทั้งตลาดในประเทศและส่งออกต่างประเทศได้ ทำให้ธุรกิจชุมชนมีความยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต

บริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและท้องถิ่น

โลกธุรกิจปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ทั้งในทางกว้างและทางลึก วิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดก็คือ การพัฒนา ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็จากความคิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน รวมถึงต้องมีเครือข่ายพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่การทำธุรกิจเป็นแบบไร้พรมแดน

โครงการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและท้องถิ่น เป็นโครงการหนึ่ง ในนโยบายหลักของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่กลุ่มชุมชนในระดับรากแก้ว เพื่อสร้างอาชีพและกระจายรายได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ผู้รับผิดชอบประกอบด้วยหน่วยงานราชการทั้งระดับกระทรวง ทบวง กรม และฝ่ายสนับสนุนภาคเอกชน โดยมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ 1) การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล 2) การพึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ และ 3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดภายนอกทั้งในและต่างประเทศ

ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มชุมชนระดับรากแก้วอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานความคิดและความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างมีเหตุมีผลและสอดรับกับความต้องการของตลาด ซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาดังกล่าวได้ เนื่องจากสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งรวมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ของนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งสามารถประสานงานแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบเชื่อมโยงการถ่ายทอดการพัฒนาด้านการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี การออกแบบ การเงิน การตลาด และการคุ้มครองงานออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการจดสิทธิบัตรในงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่ชุมชนรังสรรค์ขึ้นกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการพัฒนาทัศนคติของเยาวชนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการสืบทอดการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการเสริมต่อในด้านความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น คือ การพัฒนาทายาทสืบทอดทางธุรกิจชุมชน

ระบบบริการสุขภาพของสถานบริการสุขภาพชุมชน

การปฏิรูประบบสุขภาพ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบระบบบริการ โดยกำหนดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้น ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่ประชาชนจะเข้าถึงบริการอย่างสะดวก บุคลากรในศูนย์สุขภาพชุมชนจะเป็นผู้ที่ดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัวและชุมชน ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีเป็นกันเอง ไว้วางใจกันและเป็นส่วนหนึ่งของระบบในชุมชนนั้น อันจะนำไปสู่รูปธรรมของการสร้างสุขภาพ ซึ่งก่อผลดีทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัว สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชน/ประเทศ ที่จะได้คนที่มีคุณภาพซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญของประเทศต่อไป

การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและบริการสุขภาพในชุมชนมีพัฒนาที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ โดยในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ประชาชนส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องพึ่งตนเอง ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและอาศัยภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นในการให้บริการทางด้านสุขภาพ โดยช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น จึงมีการอาศัยพึ่งพิงระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในสถานพยาบาลแบบตะวันตกมากขึ้นเป็นลำดับ แต่จากการเปลี่ยนแปลงในด้านแนวโน้มวิทยาการระบาดที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพสภาพแวดล้อม และความเสื่อมสภาพตามอายุขัยมากขึ้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริการในสถานพยาบาลที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีราคาแพง ทำให้มีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น

การดำเนินงานศูนย์สุขภาพชุมชนมีทิศทางที่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดทำคู่มือประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนให้แก่ผู้ประเมินรับรองในศูนย์สุขภาพชุมชุมชนและคู่สัญญาการจัดบริการปฐมภูมิ เพื่อการประเมินภายในส่วนผู้ประเมินรับรองจากภายนอก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขเขต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และหน่วยงานอื่น ซึ่งจะต้องสอบผ่านและได้รับหนังสือรับรองการเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

ให้ความรู้ในชุมชนในการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพเป็นที่มาของรายได้ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในอดีตสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เป็นผู้จัดหาให้แก่สมาชิก ด้วยการผลิตขึ้นใช้เองในครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อหา ปัจจุบันการดำรงชีวิตในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนมีการศึกษามกขึ้น ความรู้ที่ได้รับจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้มาซื้อปัจจัยสี่และสิ่งของอื่น ๆ ในการดำรงชีวิตและสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม อาชีพมีอยู่มากมาย ควรพิจารณาเลือกประกอบอาชีพที่ตนเองมีความถนัดและความสนใจ สุจริต มีความมั่นคงในชีวิตและมีรายได้เพียงพอเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้

1. เพื่อตนเอง

เป็นการประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินหรือรายได้มาจับจ่ายใช้สอยสำหรับการ ดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของตนเอง นอกเหนือจากปัจจัยสี่ เช่น ซื้อเครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ
รถยนต์ ฯลฯ ซื้อสิ่งสร้างความบันเทิงและการพักผ่อน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ตลอดจนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องประดับราคาแพง น้ำหอม เครื่องสำอาง เป็นต้น

2. เพี่อครอบครัว

ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด สมาชิกของครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ซึ่งมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น พ่อ-แม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกและให้การศึกษา เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต ลูกมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา แล้วแสวงหาอาชีพ เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตนเองพ่อ-แม่ และทุกคนในครอบครัว ให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

3. เพื่อชุมชน

ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหรือสังคม หากสมาชิกแต่ละครอบครัวประกอบอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และมีอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีโอกาสก้าวหน้าภายในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจของชุมชนเจริญรุ่งเรืองสามารถพึ่งพาตนเองได้

4. เพื่อประเทศชาติ

เมื่อประชาชนในชาติมีการประกอบอาชีพ มีรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำให้อัตราการว่างงานลดน้อยลง ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้กับรัฐบาล สภาพสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน รายได้เกิดการหมุนเวียน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก้าวหน้า ผลจากการที่ประชาชนประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ชุมชนมีความเข้าแข็งและชำระภาษีให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน สะพาน เขื่อน โรงไฟฟ้า ประปาหมู่บ้าน บำรุง-รักษา-ซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น การประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชนและในประเทศ จึงเป็นการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่ง

หลักการพัฒนาชุมชนในปัจจุบันนั้นจะต้องคิดให้ลึกสังคมคนไทยทุกวันนี้

ในหลักการพัฒนาชุมชนในปัจจุบันนั้นจะต้องคิดให้ลึกสังคมคนไทยทุกวันนี้ไม่มีการเอื่ออารีย์ไม่มีการพึ่งพาอาศัยกันต่างคนต่างอยู่มีแต่การแกร่งแย่งแข่งขันไม่มีพันธ์มิตรมีแต่ศูตรเลี้ยงลูกแบบหากินกันเองจะพูดคุยกันก็ใช้จดหมายน้อยหรือเขียนข้างฝาลูกกับมาจากเรียนหากินเองตามตู้เย็นพอลูกนอนพ่อแม่พึ่งกลับพอลูกตื่นพ่อแม่ก็ไปทำงานแล้วมันจึงเป็นอัตราเสี่ยงอยางมากที่ใช้ TV เป็นพี่เลี้ยงอาจเป็นคนต่างประเทศก็ได้หรือมีพี่เลี้ยงที่เลวมากๆเด็กจะทำเช่นไรไม่อยากคิดเลี้ยงหรือถ้ามีพี่แต่ก่อนพ่อแม่พาลูกๆลูกๆพาพ่อแม่เข้าวัดฟังธรรมทำบุญกันเป็นกิจกรรมกันในครอบครัวทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีทุกข์ร้อนนอนหลับก็สบายหายใจก็ข้องเพราะสังคมไทยมีการแข่งขันอยู่กันอย่างพี่น้องถ้อยที่ถ้อยอาศัยกันช่วยเหลือจุลเจือกัน

แต่มาในขณะนี้สังคมไทยเราถูกวัฒนธรรมต่างชาติแทรกซึมเข้ามากสิ่งที่เราเสียไปอยู่ในขณะนี้คือคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคนไทยเราเริ่มจะจางหายลงไปในที่สุดและสิ่งที่อยากเห็นที่สุดคือการกู้สถานการณ์กู้สังคมกู้คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคนไทยเรากลับคืนมาให้ได้โดยเร็วที่สุดจึงเพื่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมโดยเริ่มที่เด็กและเยาวชนพร้อมด้วยครอบครัวและชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติในหลักการพัฒนาชุมชนปัจจุบันนี้ขาดคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคน เล่นพวก บ้าอำนาจ หลงวัตถุ จนทำให้ภาพรวมในงานพัฒนาออกมาไม่เต็ม ๑๐๐% จึงทำให้งานพัฒนาเกิดขึ้นยากผู้นำในแต่ละท้องที่ไม่เหมือนกันบางท่านอาจจะยังยึดติดอำนาจเพราะว่าอาบน้ำร้อนมาก่อนจึงไม่ฟังคนอื่นๆ บริหารงานไม่ได้ บริหารงานไม่เดินแต่ยังดื้อและดันทุรังที่จะทำงาน มันก็เสีย คนก็หาย งานก็เลยล่ม ภาครัฐเองก็กลัวเสียผลประโยชน์และอำนาจจึงไม่ค่อยให้ความสนใจในงานพัฒนาของภาคประชาชน ทุกวันนี้หรือในปัจจุบันก็ยังคงก้าวไปอย่างช้าๆ ภาครัฐเองต้องให้โอกาส ภาคประชาชนทำงานในการพัฒนาโดยการหนุนเสริมทั้งด้านงบประมาณและด้านวิชาการความรู้ ควบคู่กันไปแต่ไม่ใช่ไปสั่งๆอย่างเดียวว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้มันไม่ใช่การพัฒนาแต่ในปัจจุบันมักจะเป็นแบบนี้ถึง ๑๐๐% เลยก็ว่าได้ มันก็ไม่เกิดอะไรเลย ไม่ได้ทั้งคน ไม่ได้ทั้งงาน เลยแตกคอกันหมด มึงไปทาง กูไปทาง ชุมชนก็แย่ สังคมก็เสื่อม เพราะเงินและอำนาจที่ทำให้สังคมแตกแยก เป็นเพราะการพัฒนาคนไม่ถูกต้อง ใช้งานคนไม่ถูกหลัก เหมือนตำน้ำพริกละลายน้ำพริกลงแม่น้ำนี่คือภาพรวมงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันของคนไทย

การพัฒนาชุมชนทางทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จ

การพัฒนาชุมชนนั้นให้ความศรัทธา เชื่อมั่นในตัวบุคคลว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งปวง และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ตามขีดความสามารถทางกายภาพของตน หากโอกาสอำนวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกทาง การพัฒนาชุมชนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนา ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย สบายใจและต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย การพัฒนาชุมชนมีหลักปรัชญาอันเป็นมูลฐานสำคัญ ดังนี้

มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม และความเป็นผู้นำซ่อนเร้นอยู่ในตัวพลังเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนาบุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่งบุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการการพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้าน เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยส่วนรวมการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนากรสามารถทำงานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง และทำให้งานมีประสิทธิภาพ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้

การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบำรุงรักษาการช่วยเหลือตนเอง  เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมความคิดริเริ่มของประชาชน ในการทำงานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตำบลความต้องการของชุมชน การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไปการศึกษาภาคชีวิต งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน