Category Archives: ข้อมูลธุรกิจ

การให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคต่อชุมชน

ชุมชน เป็นกลุ่มหนึ่งของสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งเรื่องของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ อย่างเช่น ชุมชนเมือง ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดหนาแน่น มีการ แข่งขันกันประกอบอาชีพ พึ่งพาเทคโนโลยี จึงทำให้ชีวิตของคนในชุมชนเมืองมีความเร่งรีบ แข่งขันกับเวลาและเกิดความเครียดได้ง่าย สำหรับชุมชนชนบทเป็นชุมชนที่ผู้อาศัยอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัย ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี

แม้ว่าชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิต แต่ทุกชุมชนก็สามารถเป็น ชุมชนสุขภาพดี ได้โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีความสำคัญต่อสุขภาพ และการมีชีวิตที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม รวมทั้งสนับสนุนการมีสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้มีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการ สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนในชุมชนและสังคมมีสุขภาพชีวิตที่ดี

การป้องกันโรคก็เช่นเดียวกันเป็นการสร้างเสริมสุขภาพโดยทำให้บุคคลในชุมชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิคุ่มกันโรคต่างๆ ได้ ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลและป้องกันโรคในชุมชนได้ด้วยตนเองโดยการจัดศูนย์ฟื้นฟูดูแลสุขภาพผู้ป่วยร่วมกันในชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคการสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ โดยการให้ความรู้และการป้องกันเกี่ยวกับ การเกิดโรคระบาด การเกิดอุบัติภัย และความไม่ปลอดภัย รวมทั่งการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้ชุมชนสามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง และทำให้ง่ายต่อการสร้างแนวร่วมทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

วิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน
1.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอแนะความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน
2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ ช่วยกำหนดกิจกรรมหรือโครงการสุขภาพของชุมชน
3.ร่วมกัน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน
4.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

สำหรับตัวอย่างในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เช่น จัดกิจกรรมแอโรบิกเพื่อสุขภาพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน หรือการก่อตั้งศูนย์ความรู้ภูมมิปัญญาทางการแพทย์ของชุมชน

การให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

การรวมพลังสร้างสุขภาพทั่วไทย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์รวมพลังสร้างสุขภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเพื่อให้ประชาชนรู้และตระหนักใส่ใจในการสร้างสุขภาพทั้งนี้ เพราะการพัฒนาสุขภาพของประชาชนไม่ใช่หน่วยงานในระบบสุขภาพเท่านั้น หน่วยงานเอกชน องค์กรท้องถิ่น องค์ชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและบริหารจัดการสุขภาพร่วมกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำศักยภาพขององค์กรชุมชน บริหารจัดการและดำเนินการด้านสุขภาพด้วยตนเอง โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพที่มีความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม

การสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชน

จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ รวมทั้งการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องกำลังผล องค์ความรู้ ทรัพยากร และเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง และทำให้ง่ายต่อการสร้างแนวร่วมทางด้านสุขภาพในระดับที่ใหญ่ขึ้น ในระดับของสังคม และระดับประเทศชาติ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ต่อไป

การจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนจน ทำให้มีการพัฒนาตนเองและมีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยชุมชนเอง มีพี่เลี้ยงเป็นภาครัฐที่มีบทบาท แนะนำ ช่วยงานธุรการ การติดต่อประสานงาน หรืองานวิชาการที่ตนเองไม่ถนัด องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้ ซึ่งชาวบ้านสามารถใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพบปะและค้นคว้าข้อมูลได้ เป็นเวทีของชาวบ้านเพื่อปรับเข้ากับแผนพัฒนาในส่วนที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงเป็นการก่อเกิดการพัฒนาชุมชนในหลายรูปแบบและกระบวนการเกิดการเรียนรู้ในหมู่บ้านและตำบลมีความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสู่ชุมชน

การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน คือการร่วมกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจจัดโดยเจ้าหน้าที่องค์กรของภาครัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชน หรือการร่วมกลุ่มกันของประชาชนในชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มกันในการสร้างสุขภาพ เป็นแนวคิดการใช้พลังกลุ่มและกระบวนการกลุ่มของประชาชนมาแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยเริ่มจากการจัดกิจกรรมกลุ่มง่ายๆร่วมกัน มีการส่งเสริมและพัฒนาให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการตรวจสอบประเมินความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์จำเป็น

เร่งพัฒนาปรัชญาแนวคิด ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

1

มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การเรียนรู้นอกจากจะสร้างสรรค์ภูมิปัญญาให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความปิติแก่ผู้เรียนรู้อีกด้วย การปฏิรูปการศึกษาควรมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยกระจายการเรียนรู้ออกจากสถานศึกษาไปสู่ชุมชน หรือคืนการศึกษาให้ชุมชน เพื่อให้การเรียนรู้นั้นตอบสนองความต้องการของชุมชน และทำให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนในสถานศึกษา ทั้งยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ต่างฝ่ายต่างช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งกันและกันกล่าวคือนักเรียน ครู และชุมชน อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นทั้งผู้สอนและผู้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน บุคคลและชุมชนมีความหลากหลาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ  การนำรูปแบบการเรียนรู้ที่ประสลความสำเร็จในชุมชนหนึ่งไปใช้ในอีกชุมชนหนึ่ง หรือการวางแผนจากส่วนกลางแล้วนำไปให้ชุมชนท้องถิ่นปฏิบัติ จึงมักประสบความล้มเหลว นอกจากนี้ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกชุมชนยังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

เป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คือ เพื่อสร้างปัญญาให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างบูรณาการ หรือเพิ่มเสริมสร้างพลังให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเชื่อมต่อประสบการณ์ระหว่างบุคคลและชุมชนโดยผ่านกระบวนกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการนั้น มีสาระและขอบเขตกว้างขวาง โดยเฉพาะการเลี้ยงชีพของคนในชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อาทิ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน นักธุรกิจองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ การเรียนรู้ในชุมชนจึงมิได้เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนควรนำไปสู่วัตถุประสงค์หลายๆ ประการพร้อมกันๆ กัน เช่น เพื่อสืบค้นผู้นำจิตวิญาณ สร้างความเข้าใจร่วมกัน สร้างคุณค่าและจิตสำนึกใหม่ ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดีงาม เกิดความเอื้ออาทร สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (วิธีคิดและวิธีทำงาน) ทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แนวทาง วิธีการ และแผนงานการแก้ปัญหา ได้เริ่มทดลองปฏิบัติ ได้โจทย์วิจัย เกิดการสะสมองค์ความรู้ในท้องถิ่น ได้องค์ความรู้ใหม่ และขยายผลผ่านการสรุปบทเรียนร่วมกัน ได้หลักสูตรท้องถิ่นและนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอน ชุมชนมีโอกาสเรียนรู้และจัดการร่วมกัน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ดังนั้น ควรเร่งทำการวิจัยและพัฒนาปรัชญาแนวคิด ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนที่มีคุณภาพ เพื่อให้ชุมชนนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง

การให้ความรู้แก่คนในชุมชนเพื่อลดการเกิดโรค

jacksonwv.net

ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทำให้วิถีชีวิตและการอุปโภคบริโภคของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป และปัจจัยสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพของครอบครัวและชุมชน การดูแลรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้คน สิ่งสำคัญที่ช่วยในการดูแลสุขภาพนั่นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวบุคคล ที่จะต้องมีการสร้างและส่งเสริมให้ดีขึ้น ตลอดจนการควบคุมปัจจัย และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี

การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกๆคนในชุมชน และครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมเพื่อป้องกันโรค ปรับปรุงภาวะสุขภาพ และเสริมสร้างความผาสุกในชีวิต เป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพ คือ การทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล ไม่ว่าจะเป็น ทางกาย ทางใจ หรือจิตวิญญาณ ของแต่ละคนไปพร้อมๆกัน ป้องกันการเสื่อมถอยของสุขภาพ ด้วยการลดหรือขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนในชุมชน

ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยดำเนินการในลักษณะต่างๆ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การลดโอกาสเสี่ยง หรือความเสี่ยงในการเกิดโรค การให้การศึกษาแก่คนในชุมชน และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคให้แก่คนในชุมชน การกำหนดนโยบายท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น นโยบายในการออกกำลังกาย การสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การจัดสวนสาธารณะที่สะอาด ปลอดภัย มีความร่มรื่น ไร้มลภาวะเป็นพิษ หรือจัดตั้งนโยบายลดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น จัดเขตปลอดบุหรี่ ชุมชนปลอดเหล้า จำกัดความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ ออกกฎห้ามทิ้งขยะในที่ห้ามทิ้ง มีการจัดฟังธรรม การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการทำกิจกรรมด้วยความสามารถของคนในชุมชนเอง ซึ่งผลที่ได้ก็ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ชุมชน ต่อครอบครัว และโดยเฉพาะต่อตนเอง

นอกจากนี้ในหลายๆชุมชนเริ่มมีการดำเนินการด้านนี้อย่างเต็มที่ เริ่มมีการจัดตั้งบอร์ดโครงการขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและแนวทางป้องกันโรคแก่คนในชุมชน เมื่อมีโรคใหม่เกิดขึ้นก็จะมีการกระจายข่าวสารผ่านบอร์ดชุมชน เกิดประโยชน์ทั้งต่อชุมชนตนเองและต่อชุมชนอื่นๆ

เว็บบอร์ดชุมชน ให้ความรู้สิ่งแวดล้อมในชุมชน


ชุมชน เป็นกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่รวมตัวกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยร่วมกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันและมีความเอื้ออาทรต่อกันเป็นต้น ในแต่ละชุมชนนั้นควรจะมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีดของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ ความพอใจและความต้องการ

การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน
ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต้องเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เกิดมลพิษขึ้นเกือบทุกด้าน ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยก็คือ ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดมลพิษนั้นๆ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการแย่งชิงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เหลืออยู่ สร้างปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากทุกคนในชุมชนร่วมในกันเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งที่ลงมือกระทำด้วยตนเองตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นกลับคืนสภาพมาอย่างเดิมได้ ลดขยะในชุมชน

การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน
การจัดงานรื่นเริงหรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน หากมีการตกแต่งสถานที่ควรคำนึงถึงเรื่องดังนี้
– ตกแต่งด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและภาระต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุที่สามารถใช้ได้หลายครั้ง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
– ไม่ใช้โฟมในการตกแต่ง
– ใช้ต้นไม้ วัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ในการตกแต่งสถานที่ให้มากที่สุด

การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชนด้วยเว็บบอร์ดชุมชน
ในพื้นที่ของชุมชนแต่ละแห่งนั้น ควรจัดให้มีป้านรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ข้อมูลหรือเตือนใจแก้ผู้พบเห็น โดยติดตั้งแบบถาวรควรคำนึงถึงความเหมาะสมสวยงาม จะสามารถกระตุ้นเตือนให้คนในชุมชนตระหนักถึงความร่วมร่วมใจกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมและวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น นอกจากจะเป็นสมบัติที่น่าภาคภูมิใจของชุมชนท้องถิ่นแล้ว ยังก่อผลเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกด้วย การร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรท้องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเช่น
– ช่วยกันรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด
– บูรณปฏิสังขรณ์แหล่งโบราณสถานอย่างถูกวิธี เพื่อให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
– รณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
– รักษาศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของท้องถิ่น โดยอาจนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ระลึก

 

เว็บบอร์ดเป็นช่องทางในการต่อยอดธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมของไทยให้ความรู้คนในชุมชน

ในขณะที่โลกแห่งเทคโนโลยีก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศที่องค์กรจะต้องเกี่ยวข้อง รับรู้และจัดการรวบรวมก็มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญและแก้ไขมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ความรวดเร็วฉับไวของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งส่งต่อถึงอีกซีกโลกหนึ่งในชั่วพริบตา ศาสตร์และวิชาการกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถจะค้นหาและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายหากต้องการ   ความยากจึงไม่ใช่การค้นหาความรู้และข้อมูล แต่เป็นการทำความเข้าใจกับองค์ความรู้ (Knowledge) และความหมาย (Meaning) ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้มากกว่า เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์และความเข้าใจ

p184sre2at16dn10q09gtdc51rd55

ประเด็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลกให้ดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้วจากหลายระดับ เช่น จากองค์การการค้าโลก จากประเทศภาคีในกลุ่ม APEC เป็นต้น แต่โดยทั่วไปการพิจารณายังคงเน้น ตัวผลิตภัณฑ์ ที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม มากกว่า กระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต  ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือบำบัดมลพิษ มากกว่าที่จะเป็น สินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภคของประชาชนประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภค และกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาศักยภาพการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหนักไปที่การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม 3 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจบริการกำจัดขยะ และธุรกิจสถานพักแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี 6 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ภาครัฐควรแสดงบทบาท ในการช่วยเหลือและการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการพัฒนาบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 2. การสนับสนุนทางการเงิน หรือเงินลงทุนในการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจในการพัฒนาธุรกิจ ของตนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเครือข่าย ทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทย 4. การกาหนดมาตรฐานการประกอบการและมาตรฐานการผลิต ด้วยมาตรการ ใบรับรองหรือฉลากสิ่งแวดล้อม ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล ในกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของธุรกิจตน 5. การใช้กลยุทธ์ทางการจัดการธุรกิจที่เชื่อมโยงกับชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับภายในชุมชนให้มากที่สุด 6. นโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการส่งออกและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ควรมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ควรขัดแย้งกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนทั้งในตลาดอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน

การพัฒนาธุรกิจชุมชนคือคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคม

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน

ประกอบด้วยกิจกรรมทางการผลิต กิจกรรมทางการขายผลผลิต กิจกรมการซื้อและการบริโภคของชุมชน และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้าง ค่าเช่า และกำไรของชุมชน เนื่องจากเศรษฐกิจชุมชนก็คือพฤติกรรมของชุมชนในการใช้ทรัพยากรต่างๆเพื่อสนองความต้องการชุมชน เพราะความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นโลกมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นมนุษย์จึงต้องแสวงหาความรู้ต่างๆเพื่อทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นเพียงพ่อต่อความต้องการของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนในสังคมไทยมีที่มาหลายทาง ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดแบบสหกรณ์ และแนวคิดเกษตรผสมผสาน

ธุรกิจชุมชนเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนที่มีหลากหลายแนวทาง แต่ภายหลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ส่วนธุรกิจอื่นส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลักและอาจจะไม่ให้ความสำคัญต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่าที่ควร แต่วิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เป็นการประกอบการบนพื้นฐานการใช้ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างรู้คุณค่า เพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน โดยมุ่งประโยชน์ทางสังคมแก่ชุมชนมากกว่าการแสวงหากำไรสูงสุดมุ่งต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบการมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยในชุมชนและมุ่งต่อการรักษาระบบนิเวศของสังคมโดยรวม

ธุรกิจชุมชนเป็นกระบวนการทางสังคม

ที่ถูกคัดสรรสำหรับการนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังประสบและเตรียมการเพื่อสร้างรากฐานการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจให้แก่สังคมไทย โดยใช้รากเหง้าของวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคม จากความเชื่อว่าการพัฒนาธุรกิจชุมชนจะต้องใช้คนเป็นเป้าหมายและดำเนินการพัฒนาแบบองค์รวม หรือการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ จิตใจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมืองโดยใช้พลังทางสังคม ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา ในรูปแบบของกลุ่มเครือข่ายหรือประชาสังคม กล่าวคือเป็นการผนึกกำลังของทุกฝ่ายประกอบด้วย รัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาธุรกิจชุมชน

คือคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคม เพราะธุรกิจชุมชนเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีโอกาสในการเรียนรู้วิธีการจัดการธุรกิจ การทำงานร่วมกันเพื่อตัวเองและเพื่อส่วนร่วมตลอดจนได้เรียนรู้ถึงการจัดการผลประโยชน์เพื่อพัฒนาชุมชน ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สิ่งสำคัญยิ่งของแนวคิดธุรกิจชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือหลักการของพระพุทธศาสนาที่เน้นการพึ่งตนเอง เน้นความเป็นชุมชนและเน้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยที่ยึดมั่นในสัจจะ การทำความดี ความมีเมตตา การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการมีความสมานฉันท์

การปรับตัวให้อยู่รอดในธุรกิจ

การปรับตัวให้อยู่รอดในธุรกิจ

1. ดูแนวโน้มธุรกิจที่กระทรวงพาณิชย์ที่ www.moc.go.th
2. ศึกษาเรื่องราวธุรกิจ ธุรกิจระหว่างประเทศของไทย ที่ http://www.mfa.go.th/business/
3. ทำเว็บของคุณให้ ติดหน้าแรก google ติดหน้าแรกแบบมืออาชีพ
4. เลือกใช้บริษัทโปรโมทเว็บไซต์ ขั้นปลอดภัย ให้ติดหน้าแรก คุ้มค่า  ถูกวิธี ขึ้นเร็ว รับประกันอันดับ
5. โปรโมทเว็บ กับบริษัทโปรโมทเว็บเจ้าใหญ่เท่านั้น
6.ศึกษาวิธีโปรโมทเว็บเองบ้าง  ปรับแต่งเว็บให้ติดหน้าแรก วิธีโปรโมทถูกวิธี

ปัจจัยเรื่องการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เงินเฟ้อ และค่าแรงขั้นต่ำ

ในการปรับเปลี่ยนการทำงานของ SMEs เพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มต้นทุนแรงงานนั้น จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงานอย่างไรก็ตาม ระบบการทำงานนั้นจะต้องเอื้อให้คนที่มีความสามารถในระดับปานกลางสามารถทำงานได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากไม่ว่าจะในงานใดๆก็ตาม เรามักจะได้คนทำงานส่วนใหญ่ที่มีความสามารถระดับปานกลาง โดยมีคนกลุ่มประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถที่โดดเด่นเหนือเกณฑ์เฉลี่ย และอีกประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดังนั้นระบบการทำงานไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามจะต้องเอื้อให้คนในองค์กรอย่างน้อย 70–80% สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายของกิจการหรือสูงกว่าเป้าหมาย

สิ่งที่หนีไม่พ้นเลยก็คือต้นทุนของกิจการในประเทศจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน โดยสำหรับค่าแรงนั้นดูเหมือนจะมีผลกระทบกับ SMEs มากกว่าธุรกิจในกลุ่มอื่น เนื่องจากต้นทุนของ SMEs ประมาณ 30 – 50% เป็นต้นทุนแรงงาน ดังนั้นการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ จะมีผลกระทบโดยตรงกับโครงสร้างต้นทุนของ SMEs ค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อที่จะรองรับผลกระทบที่จะเกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขี้นนี้ กล่าวคือด้วยจำนวนแรงงานเท่าเดิม ผลิตภาพของแรงงาน หรือ Productivity ของแรงงานจะต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่าต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น เช่น หากต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 30% จากการปรับอัตราขั้นต่ำ

แนวคิดในการจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันมักจะเน้นเรื่องการบริหารจัดการคนที่มีความสามารถโดดเด่น หรือ Talent การบริหารจัดการคนที่มีความสามารถในเกณฑ์เฉลี่ยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่า เป็นการยากมากที่องค์กรใดจะมีแต่คนเก่ง หรือหากมีก็จะทำให้ต้นทุนแรงงานนั้นสูงลิ่ว (ซึ่งอาจจะเหมาะกับธุรกิจเฉพาะบางอย่างเท่านั้น) แต่โดยทั่วไปคนกลุ่มใหญ่ของพนักงานจะเป็นคนที่มีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้นๆ

ดังนั้นระบบการทำงานที่ดี จึงจะต้องเป็นระบบการทำงานที่เอื้อให้คนโดยส่วนใหญ่ของบริษัทสามารถทำงานบรรลุตามเป้าหมายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านผู้ประกอบการคงต้องขบคิดแล้วว่าระบบการทำงานอย่างไรจึงจะเหมาะกับกิจการของท่าน ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนั้นมีได้ตั้งแต่ การหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อช่วยให้ทำงานได้คล่องขึ้น ตลอดจนระบบการให้ผลตอบแทนให้สอดคล้องกับลักษณะงาน

เคล็ดลับเล็กๆน้อยๆที่นักลงทุนเกี่ยวกับหุ้นทุกๆคนควรจะต้องมีกัน

ปัจจัยพื้นฐานที่นักลงทุนมือใหม่ควรหาให้เจอทั้งสิ้นว่าตัวเองชอบแบบใดและเหมาะกับแบบใดอีกทั้งต้องมีความรู้ถึงข้อควรระวังในการเล่นหุ้นด้วย หลายๆคนคงคิดว่าการเล่นหุ้นนั้นเป็นเรื่องยากหรือบางคนบอกว่าถึงมันจะยากแต่ก็ไม่ยากเกินที่เราจะเรียนรู้หรอก แต่ไม่ว่าคุณจะมีทัศนคติกับการลงทุนแบบไหน คุณจะรู้ว่ามันทั้งไม่ยากแถมยังเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่ายอีกต่างหาก เคล็ดลับเล็กๆน้อยๆที่นักลงทุนทุกๆคนควรจะต้องมีกัน เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินความเข้าใจและไม่ยากเกินความพยายาม อันได้แก่

– ปรัชญาการลงทุนของตัวเอง ปรัชญาก็เหมือนกับหลักการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลซึ่งแต่ละคนก็มีปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมือนกัน สำหรับการลงทุนแล้วปรัชญาจะช่วยให้คุณผ่านพ้นปัญญาต่างๆทั้งที่คาดคิดและไม่คาดคิด ทำให้คุณไม่โอนอ่อนไปตามกระแสนิยมของตลาดหุ้นซึ่งมีอันตรายเป็นอย่างมาก อย่างเช่น ปรัชญาของวาเรน บัฟเฟต ที่จะซื้อเพื่อเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ และจะไม่ขายเลยจนกว่าบริษัทนั้นๆจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะทำกำไรได้ต่อไปในอนาคต เป็นต้น

– ความรู้ เพราะความรู้เป็นปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์เราเพราะเราตั้งใจศึกษาเล่าเรียนมาก็เพื่อจะได้มีอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตัวเองและคนที่เรารัก ซึ่งสำหรับความรู้ในการลงทุนก็ไม่ต่างจากความรู้ในชีวิตประจำวันของเราเลย ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น ค่า P/E คืออะไร , ตลาดกระทิง คืออะไร , ตลาดหมี คืออะไร , หรือการเก็งกำไร คืออะไร เหล่านี้ล้วนเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมือใหม่จะต้องรู้ทั้งนั้น ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากเลย

– ต้นแบบที่ดี ถูกต้องแล้วครับตนแบบที่ดี เพราะการมีต้นแบบที่ดีก็เปรียบเหมือนกับการมีหางเสือที่ดีนั่นเอง อย่างเช่นหลายๆคนที่มีฮีโร่ประจำใจเป็นของตัวเอง เมื่อเจอปัญหาใดๆหรือเจออุปสรรคเราก็จะให้ปรัชญาของฮีโร่ของเราฟันฝ่าอุปสรรคไปได้นั่นเอง สำหรับการลงทุนก็เช่นเดียวกันคุณต้องหาให้่เจอว่าคุณจะมีสไตล์การเล่นหุ้นแบบใด เช่น จะเล่นแบบกราฟเทคนิค หรือ จะเล่นแบบเน้นคุณค่า จากนั้นคุณก็ต้องมีต้นแบบที่ดีอย่างเช่น

การลงทุนในหุ้น คือการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนซึ่งให้สิทธิการเป็นเจ้าของในบริษัทนั้นๆ ตามจำนวนหุ้นที่ถือครอง แม้คำว่า “งบการเงิน” และ “การบัญชี” อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกกลัวและไม่อยากทำความเข้าใจกับมัน แต่นี่คือภาษาทางธุรกิจซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องรู้ก่อนจะลงทุนในหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตามนักลงทุนไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างนักบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนก็สามารถที่จะเข้าใจพื้นฐานของงบการเงินที่สำคัญสามอย่าง คือ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด ที่ช่วยแสดงถึงผลการดำเนินงานและความมั่งคั่งของบริษัทได้

เมื่อนักลงทุนคิดว่าตัวเองได้พบบริษัทที่มีประสิทธิภาพ (เหนือกว่าบริษัททั่วไป) แล้ว สิ่งต่อมาที่นักลงทุนควรค้นหาก็คือ ราคาตลาดตอนนี้เป็นราคาที่นักลงทุนควรจะเข้าไปซื้อหรือไม่ เช่นเดียวกับการซื้อสินค้าเราคงไม่อยากซื้อสินค้าที่ดี แต่ราคาแพงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หุ้นก็เช่นเดียวกัน นักลงทุนคงไม่ต้องการซื้อบริษัทในราคาที่แพงเกินความเป็นจริง การจะค้นพบบริษัทที่มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าบริษัททั่วไปนั้น นักลงทุนจะต้องทำการบ้านหนักพอสมควรในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ประกอบกับนักลงทุนบางคนอาจมองว่าการลงทุนด้วยตัวเองจะทำให้ไม่สามารถกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอได้เท่าที่ควร ทางออกที่นักลงทุนเหล่านี้เลือกจึงเป็นการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นแทนการลงทุนในหุ้นรายตัว

เปิดร้านกาแฟสดต้นทุนต่ำแบบมืออาชีพ งบประมาณไม่บานปลาย คุณเป็นเจ้าของ 100%

ถ้าจะว่ากันไปแล้วเสน่ห์ของร้านกาแฟมีหลายๆจุดด้วยกัน ซึ่งแล้วแต่คนใดจะมองออก ที่มองเห็นได้ง่ายก็คือ ร้านกาแฟสดใช้เงินลงทุนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจหลายๆอย่าง เป็นธุรกิจที่ได้รับเงินสดทุกวันไม่มีเครดิตเทอมยาวๆ และเป็นธุรกิจที่เจ้าของสามารถลงมือทำได้ด้วยตัวเอง หรือให้ญาติพี่น้องทำก็ได้หรือจะจ้างพนักงานเพียงคนเดียวทำก็ย่อมได้ ถ้าได้ทำเลที่ดีๆยิ่งทำให้ธุรกิจร้านกาแฟสดรุ่งอย่างต่อเนื่อง แต่การจะทำได้เช่นนี้ต้องมีองค์ประกอบหรือปัจจัยอีกหลายอย่างเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ทำเลดี การบริการดี และอีกหลายอย่าง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นจุดเด่นๆของร้านกาแฟสด ถ้าคุณกำลังมองหาลู่ทางในการเริ่มต้นทำธุรกิจอยู่ ลองมาปรึกษาหรือคุยกับแฟรนไชส์กาแฟสด คุณจะมองเห็นได้ดีในมนต์เสน่ห์ของธุรกิจร้านกาแฟสด ร้านกาแฟสดเป็นธุรกิจที่ลงทุนต่ำ และคืนทุนมีกำไรได้อย่างรวดเร็ว เป็นธุรกิจยอดฮิตตลอดกาล ในบรรดาธุรกิจทั้งหลาย ธุรกิจที่ทำเงินได้ดีและต่อเนื่องส่วนมากจะต้องลงทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันนักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่มีงบประมาณน้อยต่างเริ่มให้ความสนใจหันมาทำธุรกิจที่ทำเงินสดได้ในทุกๆวัน เพราะในบรรดาธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่การจัดเก็บเงินกับลูกค้าส่วนมากจะเป็นลักษณะเครดิตเทอมยาว 1-6 เดือนหรือในบางธุรกิจเครดิตเป็นปีก็มีไม่น้อย ซึ่งจะมีผลให้ผลกำไรที่ได้รับน้อยลงหรืออาจจะขาดทุนไปเลยก็ได้

ดังนั้นจึงเห็นกลุ่มนักลงทุนที่มีงบประมาณมากลงทุนเพิ่มในธุรกิจร้านกาแฟ มีการสร้างสาขาของร้านกาแฟเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจทำเงินให้เจ้าของเป็นกอบเป็นกำ นอกจากนี้ผู้ลงทุนรายย่อยที่เป็นส่วนบุคคลและมีงบประมาณไม่มากก็สามารถเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดได้อย่างลงตัว และสามารถทำเงินให้เจ้าของร้านกาแฟได้เป็นอย่างดี แฟรนไชส์กาแฟสดได้เปิดโอกาสให้คนไทยได้เป็นเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟสดเป็นของตัวเองชนิดมีความเป็นเจ้าของ 100% โดยไม่จัดเก็บค่าแฟรนไชส์และค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งเปอร์เซ็นจากการขาย ค่าอบรมเทรนนิ่งต่างๆจัดให้ฟรีทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินการเปิดธุรกิจร้านกาแฟสดของผู้ลงทุน นอกจากนี้แฟรนไชส์กาแฟสดของเรายังช่วยลูกค้าวิเคราะห์สถานที่หรือทำเลรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ พูดง่ายๆก็คือทางเราจะแนะนำประเภทที่เหมาะสมกับแต่ละคน ทั้งพื้นที่ทำเล งบประมาณที่ต้องการลงทุน เราจะช่วยพิจารณาในขั้นต้นช่วย เพื่อผู้ลงทุนเองจะได้สบายใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ถึงแม้จะเป็นเพียงธุรกิจขนาดเล็กๆในวันนี้ แต่ก็สามารถสร้างเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคตได้ ซึ่งจุดนี้แล้วแต่ศักยภาพและความสามารถของแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน

การสร้างความสำเร็จในธุรกิจ คุณต้องมีจุดดีและจุดเด่นๆที่ไม่เหมือนใคร แต่โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะสร้างจุดเด่นในลักษณะใดก็ตาม หัวใจหลักๆของความสำเร็จในการทำธุรกิจร้านกาแฟสด ความสำคัญอันดับแรกที่สุดซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักๆคือ รสชาดของกาแฟ รสชาดต้องอร่อยจริงๆดื่มทุกครั้งต้องอร่อยทุกครั้ง ลูกค้าทุกคนติดใจในความอร่อยของกาแฟร้านของคุณ ถ้าเมนูอื่นๆก็อร่อยไม่น้อยไปกว่ากาแฟ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มค่าอย่างดีมากๆ ซึ่งจุดนี้คือจุดตายของร้านกาแฟทั่วไปที่ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงแม้จะลงทุนจำนวนมากมาย แต่ถ้าทำรสชาดของกาแฟให้อร่อยไม่ได้ก็จอดตรงนั้น ทำเลดีซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับรองลงมา คุณลองนึกภาพดูถ้ากาแฟรสอร่อยมากๆ บวกกับทำเลดีเยี่ยม ถือว่าชัยชนะมาเยี่ยมคุณเรียบร้อยแล้ว ในส่วนเรื่องอื่นๆเป็นเพียงปัจจัยรอง ในบางธุรกิจอย่างเช่น ร้านอาหาร ทำเลที่ตั้งของร้านอาหารไม่เหมาะสมเลย ระยะทางก็ตั้งอยู่ไกล แต่เขามีจุดเด่นและจุดขายของธุรกิจอยู่ที่รสชาดของอาหารเป็นหลัก อาหารอร่อยมาก ซึ่งอาจจะอร่อยเพียงเมนูใดเมนูหนึ่ง หรืออร่อยหลายๆเมนู ผู้คนก็ยิ่งนิยมมาใช้บริการ ซึ่งรสชาดความอร่อยเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุนมากมายอะไรเลย สำหรับสมาชิกแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดของเราทุกๆร้าน การสร้างฐานลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำและการดูแลรักษาลูกค้าขาประจำอย่างต่อเนื่อง เท่ากับเป็นการสร้างทรัพยากรที่มีค่าและกระเป๋าเงินของท่าน ทุกๆร้านต้องหมั่นสร้างฐานลูกค้าประจำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จงเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้เป็นลูกค้าขาประจำ ด้วยการชูจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ จุดดึงดูดใจลูกค้า

การมองหาธุรกิจที่เป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

การทำอาชีพเสริมนอกจากจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับตัวเราเองอีกด้วย เช่น ในความก้าวหน้าในอาชีพการงาน จนพัฒนาไปเป็นเจ้าของธุระกิจได้ในวันข้างหน้า เพราะการทำอาชีพหลากหลาย อาชีพ หรือการทำธุรกิจมากกว่าทำธุรกิจเดียว ย่อมดีอยู่กว่าทำธุรกิจเดียวอยู่แล้ว เพราะบางครั้งอาชีพเสริมที่เราทำอาจทำเงินได้มากกว่างานประจำที่ทำอีกก็เป็นไปได้ อยู่ที่เราจะมอบโอกาสให้กับตัวเราเอง ในความเป็นจริงเราทุกคนต่างมีต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกันออกไป บางคนเกิดมาในครอบครัวที่เพียบพร้อมทุกอย่าง ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนมากเหมือนคนอื่นๆ มีเส้นทางเดินตามความก้าวหน้าของครอบครัวอยู่แล้ว

แต่ก็มีอีกหลายคนที่เกิดมาในครอบครัวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ยิ่งในยุคเศรษฐกิจสมัยใหม่ ความเจริญเพิ่มขึ้นค่าครองชีพก็มีมากขึ้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หากเรามองไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น ลาว กัมพูชา พม่า ประชากรในประเทศเหล่านี้ต่างทำอาชีพเสริมกันทั้งนั้นนอกเหนือจากงานประจำที่ทำอยู่ เพราะประเทศเหล่านี้มีค่าครองชีพที่สูง และมีค่าแรงที่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับบ้านเรา ดังนั้นจึงมีแรงงานบางส่วนหันมาทำงานที่ประเทศไทยกันมากขึ้น เนื่องด้วยค่าแรงที่ให้สูงกว่านั้นเอง

การทำอาชีพเสริมนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างโอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพราะอาชีพเสริมเป็นอาชีพที่เราทำนอกเหนือจากงานหลักของเราอยู่แล้ว บางท่านชอบทำอาหารอาจทำข้าวเหนียวหมู่ปิ้งขายในตอนเช้าก่อนเริ่มงานก็ได้ บางครั้งอาชีพเสริมของเรานี้แหละกลายเป็นธุรกิจแฟรนไชส์หมูปิ้งซื้อดังรายใหญ่ก็เป็นได้ เพียงเริ่มต้นลงมือทำในสิ่งที่ตนเองชอบ ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด ทุกคนต่างมองหาความมันคงให้แก่ชีวิต และครอบครัวเพื่อลูกหลานในอนาคต ซึ่งในอนาคตเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น ส่วนอดีตก็ไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ ดังนั้นหากต้องการความมั่นคงทางด้านการเงินแล้ว

การทำอาชีพเสริมนั้นช่วยกระจายความเสียงได้เป็นอย่างดี สิ่งแรกที่มักเป็นปัจจัยหลักของคนเรา ซึ่งเงินสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าขนมลูก ค่าเทอม ค่าน้ำ ค่า ไฟ หรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ เพราะในปัจจุบันนี้ถ้าใครไม่มีเงินติดตัวคงอยู่ได้ลำบากมาก เหมือนตัดขายกับทางโลกเลยก็ว่าได้ สิ่งหนึ่งที่เงินหาซื้อมาไม่ได้ ประสบการณ์คือทุกสิ่งอย่างเริ่มต้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจและหน้าที่การงานผู้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องบุกป่าฝ่าดง เจอะเจอกับสิ่งที่ท้าทายเข้ามาในชีวิต ได้อยู่กับปัญหา ได้เรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด เข้าใจปัญหากับสิ่งที่ตัวเองกำลังเผชิญ จนสุดท้ายไม่มีอะไรที่จะสามารถทำเราได้ เพราะเรามีประสบการณ์ที่ดี