การฟื้นฟูระบบและพัฒนาคุณค่าเดิมของทุนทางสังคมในชุมชน

15

สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันมายาวนาน  มีสวัสดิการแบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง  แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่าง ๆที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์  องค์กรการเงิน  วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ในปี 2548 ขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับกองทุนสวัสดิการโดยการริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบล โดยให้มีการสมทบงบประมาณจากสามฝ่ายคือ ทุนจากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน ทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม  หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐบาลกลางและการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองทั่วประเทศ 5,500 กองทุน สมาชิกรวม 3.41 ล้านคน

สวัสดิการชุมชนคือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในท้องถิ่น ที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต  ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 ในช่วงแรกเป็นการให้การสนับสนุนเพื่อการจัดตั้ง พัฒนาและสมทบเงินบางส่วน ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยสมทบเงินเข้ากองทุนตามจำนวนสมาชิกที่มีอายุครบ 1 ขึ้นไปในอัตราวันละ 1 บาทต่อคนหรือปีละ 365 บาท  และได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๙ มิถุนายน 2553 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) พิจารณาสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ตามฐานะการคลังของแต่ละ อปท.

ประโยชน์ของการจัดตั้งสหกรณ์ในชุมชน

สหกรณ์ภายในชุมชน หมายถึง การรวมตัวของคนในชุมชน จัดตั้งเป็นสมาคมด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินกิจการร่วมกันอย่างเป็นอิสระ โดยควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย โดยมุ่งแสวงหากำไรและแบ่งปันกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของคนในสังคม ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักของสหกรณ์ ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถแก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จากการดำเนินกิจการเองตามลำพัง ประโยชน์ที่ได้รับมีดังต่อไปนี้

1.ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้ และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง

2.เกิดความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ

3.ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

4.ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น

5.ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์

6.เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก

7.เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของสหกรณ์ภายในชุมชนมีประโยชน์มากมาย เป็นองค์กรที่ต้องอาศัยการร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนในชุมชนทุกฝ่าย

การพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน

ธุรกิจในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาชุมชน แต่เนื่องจากผู้ประกอบการในชุมชนยังขาดความเข็มแข็งในการพึ่งตนเองในด้านการดำเนินธุรกิจ และขาดการเรียนรู้ร่วมกันที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบกิจการด้วยคนในชุมชนทั้งในด้านการผลิตสินค้า การให้บริการและการเรียนรู้ การพึ่งตนเองของครอบครัว ทำให้บางกลุ่มไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้ และหยุดโครงการไป

การที่จะสร้างรายได้ในชุมชนนั้นจำเป็นต้องมีการรวมตัวเพื่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นวิถีชีวิตของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ก็คือการนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จะพบว่าในปัจจุบันธุรกิจภายในชุมชนส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดย่อมซึ่งเป็นกิจการที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ มีกระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับวิถีของคนในชุมชนและความต้องการของตลาดภายนอก ทำให้ธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นได้

ในการพัฒนาต้องแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว ให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิต โดยการสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ในการผลิต จัดทำเอกสารข้อมูลเผยข้อมูลแพร่ด้านแหล่งทุนการพัฒนาการผลิตเผยแพร่สนับสนุนแก่กลุ่มอาชีพผู้ประกอบการและสนับสนุนข่าวสารการผลิตเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการพัฒนาการผลิต หรือจะโครงการหาเงินทุนขึ้น

การสร้างธุรกิจในชุมชนช่วยให้ชุมชนกับเศรษฐกิจพอเพียงเกิดการเชื่อมโยงกันทั้งในด้านจิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ประสานสัมพันธ์กัน รวมทั้งชุมชนต้องสร้างความเข้มแข็งด้วยการเข้าใจถึงลักษณะของคำว่า ธุรกิจชุมชน ให้ได้ เพราะทำให้เกิดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้ และเมื่อประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขยายตลาดออกไปได้กว้างมากขึ้น และมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับชุมชนอื่นในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนสินค้า โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนโครงการ รวมทั้งสามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มทั้งตลาดในประเทศและส่งออกต่างประเทศได้ ทำให้ธุรกิจชุมชนมีความยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต

บริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและท้องถิ่น

โลกธุรกิจปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ทั้งในทางกว้างและทางลึก วิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดก็คือ การพัฒนา ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็จากความคิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน รวมถึงต้องมีเครือข่ายพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่การทำธุรกิจเป็นแบบไร้พรมแดน

โครงการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและท้องถิ่น เป็นโครงการหนึ่ง ในนโยบายหลักของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่กลุ่มชุมชนในระดับรากแก้ว เพื่อสร้างอาชีพและกระจายรายได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ผู้รับผิดชอบประกอบด้วยหน่วยงานราชการทั้งระดับกระทรวง ทบวง กรม และฝ่ายสนับสนุนภาคเอกชน โดยมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ 1) การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล 2) การพึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ และ 3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดภายนอกทั้งในและต่างประเทศ

ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มชุมชนระดับรากแก้วอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานความคิดและความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างมีเหตุมีผลและสอดรับกับความต้องการของตลาด ซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาดังกล่าวได้ เนื่องจากสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งรวมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ของนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งสามารถประสานงานแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบเชื่อมโยงการถ่ายทอดการพัฒนาด้านการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี การออกแบบ การเงิน การตลาด และการคุ้มครองงานออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการจดสิทธิบัตรในงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่ชุมชนรังสรรค์ขึ้นกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการพัฒนาทัศนคติของเยาวชนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการสืบทอดการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการเสริมต่อในด้านความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น คือ การพัฒนาทายาทสืบทอดทางธุรกิจชุมชน

ระบบบริการสุขภาพของสถานบริการสุขภาพชุมชน

การปฏิรูประบบสุขภาพ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบระบบบริการ โดยกำหนดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้น ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่ประชาชนจะเข้าถึงบริการอย่างสะดวก บุคลากรในศูนย์สุขภาพชุมชนจะเป็นผู้ที่ดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัวและชุมชน ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีเป็นกันเอง ไว้วางใจกันและเป็นส่วนหนึ่งของระบบในชุมชนนั้น อันจะนำไปสู่รูปธรรมของการสร้างสุขภาพ ซึ่งก่อผลดีทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัว สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชน/ประเทศ ที่จะได้คนที่มีคุณภาพซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญของประเทศต่อไป

การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและบริการสุขภาพในชุมชนมีพัฒนาที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ โดยในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ประชาชนส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องพึ่งตนเอง ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและอาศัยภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นในการให้บริการทางด้านสุขภาพ โดยช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น จึงมีการอาศัยพึ่งพิงระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในสถานพยาบาลแบบตะวันตกมากขึ้นเป็นลำดับ แต่จากการเปลี่ยนแปลงในด้านแนวโน้มวิทยาการระบาดที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพสภาพแวดล้อม และความเสื่อมสภาพตามอายุขัยมากขึ้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริการในสถานพยาบาลที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีราคาแพง ทำให้มีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น

การดำเนินงานศูนย์สุขภาพชุมชนมีทิศทางที่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดทำคู่มือประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนให้แก่ผู้ประเมินรับรองในศูนย์สุขภาพชุมชุมชนและคู่สัญญาการจัดบริการปฐมภูมิ เพื่อการประเมินภายในส่วนผู้ประเมินรับรองจากภายนอก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขเขต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และหน่วยงานอื่น ซึ่งจะต้องสอบผ่านและได้รับหนังสือรับรองการเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

ให้ความรู้ในชุมชนในการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพเป็นที่มาของรายได้ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในอดีตสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เป็นผู้จัดหาให้แก่สมาชิก ด้วยการผลิตขึ้นใช้เองในครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อหา ปัจจุบันการดำรงชีวิตในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนมีการศึกษามกขึ้น ความรู้ที่ได้รับจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้มาซื้อปัจจัยสี่และสิ่งของอื่น ๆ ในการดำรงชีวิตและสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม อาชีพมีอยู่มากมาย ควรพิจารณาเลือกประกอบอาชีพที่ตนเองมีความถนัดและความสนใจ สุจริต มีความมั่นคงในชีวิตและมีรายได้เพียงพอเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้

1. เพื่อตนเอง

เป็นการประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินหรือรายได้มาจับจ่ายใช้สอยสำหรับการ ดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของตนเอง นอกเหนือจากปัจจัยสี่ เช่น ซื้อเครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ
รถยนต์ ฯลฯ ซื้อสิ่งสร้างความบันเทิงและการพักผ่อน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ตลอดจนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องประดับราคาแพง น้ำหอม เครื่องสำอาง เป็นต้น

2. เพี่อครอบครัว

ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด สมาชิกของครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ซึ่งมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น พ่อ-แม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกและให้การศึกษา เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต ลูกมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา แล้วแสวงหาอาชีพ เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตนเองพ่อ-แม่ และทุกคนในครอบครัว ให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

3. เพื่อชุมชน

ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหรือสังคม หากสมาชิกแต่ละครอบครัวประกอบอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และมีอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีโอกาสก้าวหน้าภายในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจของชุมชนเจริญรุ่งเรืองสามารถพึ่งพาตนเองได้

4. เพื่อประเทศชาติ

เมื่อประชาชนในชาติมีการประกอบอาชีพ มีรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำให้อัตราการว่างงานลดน้อยลง ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้กับรัฐบาล สภาพสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน รายได้เกิดการหมุนเวียน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก้าวหน้า ผลจากการที่ประชาชนประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ชุมชนมีความเข้าแข็งและชำระภาษีให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน สะพาน เขื่อน โรงไฟฟ้า ประปาหมู่บ้าน บำรุง-รักษา-ซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น การประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชนและในประเทศ จึงเป็นการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่ง

หลักการพัฒนาชุมชนในปัจจุบันนั้นจะต้องคิดให้ลึกสังคมคนไทยทุกวันนี้

ในหลักการพัฒนาชุมชนในปัจจุบันนั้นจะต้องคิดให้ลึกสังคมคนไทยทุกวันนี้ไม่มีการเอื่ออารีย์ไม่มีการพึ่งพาอาศัยกันต่างคนต่างอยู่มีแต่การแกร่งแย่งแข่งขันไม่มีพันธ์มิตรมีแต่ศูตรเลี้ยงลูกแบบหากินกันเองจะพูดคุยกันก็ใช้จดหมายน้อยหรือเขียนข้างฝาลูกกับมาจากเรียนหากินเองตามตู้เย็นพอลูกนอนพ่อแม่พึ่งกลับพอลูกตื่นพ่อแม่ก็ไปทำงานแล้วมันจึงเป็นอัตราเสี่ยงอยางมากที่ใช้ TV เป็นพี่เลี้ยงอาจเป็นคนต่างประเทศก็ได้หรือมีพี่เลี้ยงที่เลวมากๆเด็กจะทำเช่นไรไม่อยากคิดเลี้ยงหรือถ้ามีพี่แต่ก่อนพ่อแม่พาลูกๆลูกๆพาพ่อแม่เข้าวัดฟังธรรมทำบุญกันเป็นกิจกรรมกันในครอบครัวทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีทุกข์ร้อนนอนหลับก็สบายหายใจก็ข้องเพราะสังคมไทยมีการแข่งขันอยู่กันอย่างพี่น้องถ้อยที่ถ้อยอาศัยกันช่วยเหลือจุลเจือกัน

แต่มาในขณะนี้สังคมไทยเราถูกวัฒนธรรมต่างชาติแทรกซึมเข้ามากสิ่งที่เราเสียไปอยู่ในขณะนี้คือคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคนไทยเราเริ่มจะจางหายลงไปในที่สุดและสิ่งที่อยากเห็นที่สุดคือการกู้สถานการณ์กู้สังคมกู้คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคนไทยเรากลับคืนมาให้ได้โดยเร็วที่สุดจึงเพื่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมโดยเริ่มที่เด็กและเยาวชนพร้อมด้วยครอบครัวและชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติในหลักการพัฒนาชุมชนปัจจุบันนี้ขาดคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมของคน เล่นพวก บ้าอำนาจ หลงวัตถุ จนทำให้ภาพรวมในงานพัฒนาออกมาไม่เต็ม ๑๐๐% จึงทำให้งานพัฒนาเกิดขึ้นยากผู้นำในแต่ละท้องที่ไม่เหมือนกันบางท่านอาจจะยังยึดติดอำนาจเพราะว่าอาบน้ำร้อนมาก่อนจึงไม่ฟังคนอื่นๆ บริหารงานไม่ได้ บริหารงานไม่เดินแต่ยังดื้อและดันทุรังที่จะทำงาน มันก็เสีย คนก็หาย งานก็เลยล่ม ภาครัฐเองก็กลัวเสียผลประโยชน์และอำนาจจึงไม่ค่อยให้ความสนใจในงานพัฒนาของภาคประชาชน ทุกวันนี้หรือในปัจจุบันก็ยังคงก้าวไปอย่างช้าๆ ภาครัฐเองต้องให้โอกาส ภาคประชาชนทำงานในการพัฒนาโดยการหนุนเสริมทั้งด้านงบประมาณและด้านวิชาการความรู้ ควบคู่กันไปแต่ไม่ใช่ไปสั่งๆอย่างเดียวว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้มันไม่ใช่การพัฒนาแต่ในปัจจุบันมักจะเป็นแบบนี้ถึง ๑๐๐% เลยก็ว่าได้ มันก็ไม่เกิดอะไรเลย ไม่ได้ทั้งคน ไม่ได้ทั้งงาน เลยแตกคอกันหมด มึงไปทาง กูไปทาง ชุมชนก็แย่ สังคมก็เสื่อม เพราะเงินและอำนาจที่ทำให้สังคมแตกแยก เป็นเพราะการพัฒนาคนไม่ถูกต้อง ใช้งานคนไม่ถูกหลัก เหมือนตำน้ำพริกละลายน้ำพริกลงแม่น้ำนี่คือภาพรวมงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันของคนไทย

การพัฒนาชุมชนทางทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จ

การพัฒนาชุมชนนั้นให้ความศรัทธา เชื่อมั่นในตัวบุคคลว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งปวง และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ตามขีดความสามารถทางกายภาพของตน หากโอกาสอำนวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกทาง การพัฒนาชุมชนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนา ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย สบายใจและต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย การพัฒนาชุมชนมีหลักปรัชญาอันเป็นมูลฐานสำคัญ ดังนี้

มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม และความเป็นผู้นำซ่อนเร้นอยู่ในตัวพลังเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนาบุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่งบุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการการพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้าน เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยส่วนรวมการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนากรสามารถทำงานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง และทำให้งานมีประสิทธิภาพ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้

การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบำรุงรักษาการช่วยเหลือตนเอง  เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมความคิดริเริ่มของประชาชน ในการทำงานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตำบลความต้องการของชุมชน การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไปการศึกษาภาคชีวิต งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน

การให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคต่อชุมชน

ชุมชน เป็นกลุ่มหนึ่งของสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งเรื่องของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ อย่างเช่น ชุมชนเมือง ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดหนาแน่น มีการ แข่งขันกันประกอบอาชีพ พึ่งพาเทคโนโลยี จึงทำให้ชีวิตของคนในชุมชนเมืองมีความเร่งรีบ แข่งขันกับเวลาและเกิดความเครียดได้ง่าย สำหรับชุมชนชนบทเป็นชุมชนที่ผู้อาศัยอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัย ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี

แม้ว่าชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิต แต่ทุกชุมชนก็สามารถเป็น ชุมชนสุขภาพดี ได้โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีความสำคัญต่อสุขภาพ และการมีชีวิตที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม รวมทั้งสนับสนุนการมีสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้มีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการ สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนในชุมชนและสังคมมีสุขภาพชีวิตที่ดี

การป้องกันโรคก็เช่นเดียวกันเป็นการสร้างเสริมสุขภาพโดยทำให้บุคคลในชุมชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิคุ่มกันโรคต่างๆ ได้ ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลและป้องกันโรคในชุมชนได้ด้วยตนเองโดยการจัดศูนย์ฟื้นฟูดูแลสุขภาพผู้ป่วยร่วมกันในชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคการสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ โดยการให้ความรู้และการป้องกันเกี่ยวกับ การเกิดโรคระบาด การเกิดอุบัติภัย และความไม่ปลอดภัย รวมทั่งการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้ชุมชนสามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง และทำให้ง่ายต่อการสร้างแนวร่วมทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

วิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน
1.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอแนะความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน
2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ ช่วยกำหนดกิจกรรมหรือโครงการสุขภาพของชุมชน
3.ร่วมกัน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน
4.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

สำหรับตัวอย่างในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เช่น จัดกิจกรรมแอโรบิกเพื่อสุขภาพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน หรือการก่อตั้งศูนย์ความรู้ภูมมิปัญญาทางการแพทย์ของชุมชน

การให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

การรวมพลังสร้างสุขภาพทั่วไทย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์รวมพลังสร้างสุขภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเพื่อให้ประชาชนรู้และตระหนักใส่ใจในการสร้างสุขภาพทั้งนี้ เพราะการพัฒนาสุขภาพของประชาชนไม่ใช่หน่วยงานในระบบสุขภาพเท่านั้น หน่วยงานเอกชน องค์กรท้องถิ่น องค์ชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและบริหารจัดการสุขภาพร่วมกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำศักยภาพขององค์กรชุมชน บริหารจัดการและดำเนินการด้านสุขภาพด้วยตนเอง โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพที่มีความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม

การสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชน

จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ รวมทั้งการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องกำลังผล องค์ความรู้ ทรัพยากร และเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง และทำให้ง่ายต่อการสร้างแนวร่วมทางด้านสุขภาพในระดับที่ใหญ่ขึ้น ในระดับของสังคม และระดับประเทศชาติ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ต่อไป

การจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนจน ทำให้มีการพัฒนาตนเองและมีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยชุมชนเอง มีพี่เลี้ยงเป็นภาครัฐที่มีบทบาท แนะนำ ช่วยงานธุรการ การติดต่อประสานงาน หรืองานวิชาการที่ตนเองไม่ถนัด องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้ ซึ่งชาวบ้านสามารถใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพบปะและค้นคว้าข้อมูลได้ เป็นเวทีของชาวบ้านเพื่อปรับเข้ากับแผนพัฒนาในส่วนที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงเป็นการก่อเกิดการพัฒนาชุมชนในหลายรูปแบบและกระบวนการเกิดการเรียนรู้ในหมู่บ้านและตำบลมีความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสู่ชุมชน

การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน คือการร่วมกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจจัดโดยเจ้าหน้าที่องค์กรของภาครัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชน หรือการร่วมกลุ่มกันของประชาชนในชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มกันในการสร้างสุขภาพ เป็นแนวคิดการใช้พลังกลุ่มและกระบวนการกลุ่มของประชาชนมาแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยเริ่มจากการจัดกิจกรรมกลุ่มง่ายๆร่วมกัน มีการส่งเสริมและพัฒนาให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการตรวจสอบประเมินความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์จำเป็น

เร่งพัฒนาปรัชญาแนวคิด ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

1

มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การเรียนรู้นอกจากจะสร้างสรรค์ภูมิปัญญาให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความปิติแก่ผู้เรียนรู้อีกด้วย การปฏิรูปการศึกษาควรมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยกระจายการเรียนรู้ออกจากสถานศึกษาไปสู่ชุมชน หรือคืนการศึกษาให้ชุมชน เพื่อให้การเรียนรู้นั้นตอบสนองความต้องการของชุมชน และทำให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนในสถานศึกษา ทั้งยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ต่างฝ่ายต่างช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งกันและกันกล่าวคือนักเรียน ครู และชุมชน อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นทั้งผู้สอนและผู้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน บุคคลและชุมชนมีความหลากหลาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ  การนำรูปแบบการเรียนรู้ที่ประสลความสำเร็จในชุมชนหนึ่งไปใช้ในอีกชุมชนหนึ่ง หรือการวางแผนจากส่วนกลางแล้วนำไปให้ชุมชนท้องถิ่นปฏิบัติ จึงมักประสบความล้มเหลว นอกจากนี้ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกชุมชนยังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

เป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คือ เพื่อสร้างปัญญาให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างบูรณาการ หรือเพิ่มเสริมสร้างพลังให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเชื่อมต่อประสบการณ์ระหว่างบุคคลและชุมชนโดยผ่านกระบวนกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการนั้น มีสาระและขอบเขตกว้างขวาง โดยเฉพาะการเลี้ยงชีพของคนในชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อาทิ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน นักธุรกิจองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ การเรียนรู้ในชุมชนจึงมิได้เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนควรนำไปสู่วัตถุประสงค์หลายๆ ประการพร้อมกันๆ กัน เช่น เพื่อสืบค้นผู้นำจิตวิญาณ สร้างความเข้าใจร่วมกัน สร้างคุณค่าและจิตสำนึกใหม่ ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดีงาม เกิดความเอื้ออาทร สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (วิธีคิดและวิธีทำงาน) ทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แนวทาง วิธีการ และแผนงานการแก้ปัญหา ได้เริ่มทดลองปฏิบัติ ได้โจทย์วิจัย เกิดการสะสมองค์ความรู้ในท้องถิ่น ได้องค์ความรู้ใหม่ และขยายผลผ่านการสรุปบทเรียนร่วมกัน ได้หลักสูตรท้องถิ่นและนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอน ชุมชนมีโอกาสเรียนรู้และจัดการร่วมกัน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ดังนั้น ควรเร่งทำการวิจัยและพัฒนาปรัชญาแนวคิด ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนที่มีคุณภาพ เพื่อให้ชุมชนนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง

การให้ความรู้แก่คนในชุมชนเพื่อลดการเกิดโรค

jacksonwv.net

ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทำให้วิถีชีวิตและการอุปโภคบริโภคของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป และปัจจัยสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพของครอบครัวและชุมชน การดูแลรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้คน สิ่งสำคัญที่ช่วยในการดูแลสุขภาพนั่นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวบุคคล ที่จะต้องมีการสร้างและส่งเสริมให้ดีขึ้น ตลอดจนการควบคุมปัจจัย และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี

การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกๆคนในชุมชน และครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมเพื่อป้องกันโรค ปรับปรุงภาวะสุขภาพ และเสริมสร้างความผาสุกในชีวิต เป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพ คือ การทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล ไม่ว่าจะเป็น ทางกาย ทางใจ หรือจิตวิญญาณ ของแต่ละคนไปพร้อมๆกัน ป้องกันการเสื่อมถอยของสุขภาพ ด้วยการลดหรือขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนในชุมชน

ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยดำเนินการในลักษณะต่างๆ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การลดโอกาสเสี่ยง หรือความเสี่ยงในการเกิดโรค การให้การศึกษาแก่คนในชุมชน และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคให้แก่คนในชุมชน การกำหนดนโยบายท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น นโยบายในการออกกำลังกาย การสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การจัดสวนสาธารณะที่สะอาด ปลอดภัย มีความร่มรื่น ไร้มลภาวะเป็นพิษ หรือจัดตั้งนโยบายลดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น จัดเขตปลอดบุหรี่ ชุมชนปลอดเหล้า จำกัดความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ ออกกฎห้ามทิ้งขยะในที่ห้ามทิ้ง มีการจัดฟังธรรม การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการทำกิจกรรมด้วยความสามารถของคนในชุมชนเอง ซึ่งผลที่ได้ก็ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ชุมชน ต่อครอบครัว และโดยเฉพาะต่อตนเอง

นอกจากนี้ในหลายๆชุมชนเริ่มมีการดำเนินการด้านนี้อย่างเต็มที่ เริ่มมีการจัดตั้งบอร์ดโครงการขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและแนวทางป้องกันโรคแก่คนในชุมชน เมื่อมีโรคใหม่เกิดขึ้นก็จะมีการกระจายข่าวสารผ่านบอร์ดชุมชน เกิดประโยชน์ทั้งต่อชุมชนตนเองและต่อชุมชนอื่นๆ

เว็บบอร์ดชุมชน ให้ความรู้สิ่งแวดล้อมในชุมชน


ชุมชน เป็นกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่รวมตัวกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยร่วมกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันและมีความเอื้ออาทรต่อกันเป็นต้น ในแต่ละชุมชนนั้นควรจะมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีดของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ ความพอใจและความต้องการ

การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน
ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต้องเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เกิดมลพิษขึ้นเกือบทุกด้าน ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยก็คือ ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดมลพิษนั้นๆ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการแย่งชิงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เหลืออยู่ สร้างปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากทุกคนในชุมชนร่วมในกันเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งที่ลงมือกระทำด้วยตนเองตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นกลับคืนสภาพมาอย่างเดิมได้ ลดขยะในชุมชน

การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน
การจัดงานรื่นเริงหรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน หากมีการตกแต่งสถานที่ควรคำนึงถึงเรื่องดังนี้
– ตกแต่งด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและภาระต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุที่สามารถใช้ได้หลายครั้ง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
– ไม่ใช้โฟมในการตกแต่ง
– ใช้ต้นไม้ วัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ในการตกแต่งสถานที่ให้มากที่สุด

การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชนด้วยเว็บบอร์ดชุมชน
ในพื้นที่ของชุมชนแต่ละแห่งนั้น ควรจัดให้มีป้านรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ข้อมูลหรือเตือนใจแก้ผู้พบเห็น โดยติดตั้งแบบถาวรควรคำนึงถึงความเหมาะสมสวยงาม จะสามารถกระตุ้นเตือนให้คนในชุมชนตระหนักถึงความร่วมร่วมใจกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมและวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น นอกจากจะเป็นสมบัติที่น่าภาคภูมิใจของชุมชนท้องถิ่นแล้ว ยังก่อผลเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกด้วย การร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรท้องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเช่น
– ช่วยกันรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด
– บูรณปฏิสังขรณ์แหล่งโบราณสถานอย่างถูกวิธี เพื่อให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
– รณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
– รักษาศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของท้องถิ่น โดยอาจนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ระลึก

 

เว็บบอร์ดเป็นช่องทางในการต่อยอดธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมของไทยให้ความรู้คนในชุมชน

ในขณะที่โลกแห่งเทคโนโลยีก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศที่องค์กรจะต้องเกี่ยวข้อง รับรู้และจัดการรวบรวมก็มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญและแก้ไขมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ความรวดเร็วฉับไวของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งส่งต่อถึงอีกซีกโลกหนึ่งในชั่วพริบตา ศาสตร์และวิชาการกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถจะค้นหาและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายหากต้องการ   ความยากจึงไม่ใช่การค้นหาความรู้และข้อมูล แต่เป็นการทำความเข้าใจกับองค์ความรู้ (Knowledge) และความหมาย (Meaning) ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้มากกว่า เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์และความเข้าใจ

p184sre2at16dn10q09gtdc51rd55

ประเด็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลกให้ดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้วจากหลายระดับ เช่น จากองค์การการค้าโลก จากประเทศภาคีในกลุ่ม APEC เป็นต้น แต่โดยทั่วไปการพิจารณายังคงเน้น ตัวผลิตภัณฑ์ ที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม มากกว่า กระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต  ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือบำบัดมลพิษ มากกว่าที่จะเป็น สินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภคของประชาชนประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภค และกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาศักยภาพการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหนักไปที่การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม 3 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจบริการกำจัดขยะ และธุรกิจสถานพักแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี 6 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ภาครัฐควรแสดงบทบาท ในการช่วยเหลือและการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการพัฒนาบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 2. การสนับสนุนทางการเงิน หรือเงินลงทุนในการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจในการพัฒนาธุรกิจ ของตนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเครือข่าย ทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทย 4. การกาหนดมาตรฐานการประกอบการและมาตรฐานการผลิต ด้วยมาตรการ ใบรับรองหรือฉลากสิ่งแวดล้อม ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล ในกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของธุรกิจตน 5. การใช้กลยุทธ์ทางการจัดการธุรกิจที่เชื่อมโยงกับชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับภายในชุมชนให้มากที่สุด 6. นโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการส่งออกและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ควรมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ควรขัดแย้งกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนทั้งในตลาดอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน

การพัฒนาธุรกิจชุมชนคือคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคม

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน

ประกอบด้วยกิจกรรมทางการผลิต กิจกรรมทางการขายผลผลิต กิจกรมการซื้อและการบริโภคของชุมชน และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้าง ค่าเช่า และกำไรของชุมชน เนื่องจากเศรษฐกิจชุมชนก็คือพฤติกรรมของชุมชนในการใช้ทรัพยากรต่างๆเพื่อสนองความต้องการชุมชน เพราะความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นโลกมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นมนุษย์จึงต้องแสวงหาความรู้ต่างๆเพื่อทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นเพียงพ่อต่อความต้องการของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนในสังคมไทยมีที่มาหลายทาง ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดแบบสหกรณ์ และแนวคิดเกษตรผสมผสาน

ธุรกิจชุมชนเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนที่มีหลากหลายแนวทาง แต่ภายหลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ส่วนธุรกิจอื่นส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลักและอาจจะไม่ให้ความสำคัญต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่าที่ควร แต่วิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เป็นการประกอบการบนพื้นฐานการใช้ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างรู้คุณค่า เพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน โดยมุ่งประโยชน์ทางสังคมแก่ชุมชนมากกว่าการแสวงหากำไรสูงสุดมุ่งต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบการมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยในชุมชนและมุ่งต่อการรักษาระบบนิเวศของสังคมโดยรวม

ธุรกิจชุมชนเป็นกระบวนการทางสังคม

ที่ถูกคัดสรรสำหรับการนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังประสบและเตรียมการเพื่อสร้างรากฐานการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจให้แก่สังคมไทย โดยใช้รากเหง้าของวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคม จากความเชื่อว่าการพัฒนาธุรกิจชุมชนจะต้องใช้คนเป็นเป้าหมายและดำเนินการพัฒนาแบบองค์รวม หรือการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ จิตใจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมืองโดยใช้พลังทางสังคม ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา ในรูปแบบของกลุ่มเครือข่ายหรือประชาสังคม กล่าวคือเป็นการผนึกกำลังของทุกฝ่ายประกอบด้วย รัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาธุรกิจชุมชน

คือคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคม เพราะธุรกิจชุมชนเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีโอกาสในการเรียนรู้วิธีการจัดการธุรกิจ การทำงานร่วมกันเพื่อตัวเองและเพื่อส่วนร่วมตลอดจนได้เรียนรู้ถึงการจัดการผลประโยชน์เพื่อพัฒนาชุมชน ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สิ่งสำคัญยิ่งของแนวคิดธุรกิจชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือหลักการของพระพุทธศาสนาที่เน้นการพึ่งตนเอง เน้นความเป็นชุมชนและเน้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยที่ยึดมั่นในสัจจะ การทำความดี ความมีเมตตา การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการมีความสมานฉันท์